เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

ส่วนบริการงานวิจัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเอง ‘หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์’ – สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบนสนใจร่วมล้นหลาม

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

           มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยส่วนบริการงานวิจัย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ‘หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์’ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2560 ที่ห้องคำมอกหลวง อาคาร M – Square มฟล. จ.เชียงราย โดยการอบรมทั้งส่วนการฟังบรรยายและการอภิปรายกลุ่ม โดยวิทยาการวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ และ ผศ.พญ.พรรณทิพา ว่องไว ในหัวข้อต่างๆ อาทิ วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัย, หลักจริยธรรมการวิจัยพื้นฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, กระบวนการขอความยินยอม การวิจัยในกลุ่มอ่อนแอและการรักษาความลัก, จริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์, บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย การเยี่ยมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เป็นต้น 

            โดยมีสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วภาคเหนือตอนบนสนใจเข้าร่วมอย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  มหาวิทยาลัยเชียงราย วิทยาลัยบรมราชชนนีพะเยา วิทยาลัยบรมราชชนนีแพร่ วิทยาลัยชุมชนน่าน และวิทยาลัยชุมชนแพร่

ทั้งนี้ รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการบดี ที่ได้กล่าวในการเปิดการอบรมว่า การวิจัยถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของคณาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ นำมาใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพในด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงให้การสนับสนุนคณาจารย์และนักวิจัย ให้มีโอกาสทำงานวิจัย เพื่อให้ได้ความรู้และนวัตกรรม สามารถนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

          “การวิจัยส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในมนุษย์ ซึ่งมีความซับซ้อนแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งไม่สามารถนำข้อมูลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือจากการศึกษาในสัตว์ทดลองมาทดแทนได้ โดยมีหลายประเด็นที่ต้องตระหนัก การขอความยินยอมให้เข้าร่วมการวิจัยด้วยความสมัครใจ การดูแลและป้องกันจากนักวิจัย ที่จะทำให้การวิจัยนั้นมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และให้ความช่วยเหลือดูแลแก้ไขเหตุการณ์    ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย การอบรมในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสอันดีและเป็นประโยชน์แก่นักวิจัยและผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านที่จะได้รับทราบแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่ได้มาตรฐานตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” รองอธิการบดี กล่าว           

  • 2891 ครั้ง