เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 อาจารย์ ดร. พิษณุรักษ์ กันทวี หัวหน้าชุดโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบและกลไกการจัดการโรคติดต่อข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยในระยะ ที่ (12 เดือน) ให้กับ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นการจัดการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 โดยท่าน สส. ละออง ติยะไพรัช รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ที่ได้เสนอเข้าวาระพิจารณาคณะกรรมาธิการในครั้งนี้
โดยชุดโครงการศึกษาวิจัยได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวดังนี้
1) ข้อเสนอผลักดันให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิด นโยบาย แนวทางปฎิบัติ กฎกระทรวง หรือพระราชบัญญัติในการปฎิบัติงานบริเวณจุดผ่อนปรน จุดผ่อนปรนทางการค้า โดยให้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้ปฎิบัติงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการคัดกรองเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศในจุดผ่อนปรน และทำให้เกิดแนวทางในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศตามแนวทางปฎิบัติกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation: IHR 2005) ซึ่งเป็นมาตรฐานการการควบคุมกำกับและการควบคุมป้องกันโรคในบริเวณช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
2) ข้อเสนอผลักดันให้เป็นนโยบาย ให้หน่วยงาน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดนโยบายหรือข้อปฎิบัติ กำกับดูแลผู้ปฎิบัติงานในบริเวณจุดผ่อนปรน จุดผ่อนปรนทางการค้า ให้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้ปฎิบัติงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ปฎิบัติงานบริเวณช่องทางดังกล่าว หรือมอบหมายให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับดูแลหรือให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานในบริเวณช่องทางดังกล่าว
3) ข้อเสนอผลักดันให้ประกาศมาตรการในการควบคุมกำกับดูแลในชุมชนชายแดนบริเวณช่องทางธรรมชาติที่ชัดเจนและมีแนวทางในการปฎิบัติที่ชัดเจน มอบหมายบทบาทหน้าที่ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลที่ชัดเจน มุ่งให้เกิดแนวทางในการปฎิบติที่ถูกต้องชัดเจน ในกรณีเกิดการลักลอบข้ามแดนแบบผิดกฎหมายโดย เน้นย้ำมาตรการดังกล่าวและพร้อมทั้งเพิ่มบทลงโทษที่ชัดเจนในกรณีผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการดังกล่าวหรือผู้ที่มีส่วนในการละเลยในการปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าว
4) การประกาศหรือมีข้อกำหนดแนวทางการปฎิบัติสำหรับองค์กรใน คือ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามประกาศ พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มอบหมายให้ ผู้ใหญ่บ้าน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่โรคติดต่อในระดับชุมชน ซึ่งจะต้องดำเนินการชี้แจงมอบหมายแนวทางการปฎิบัติที่ชัดเจน พร้อมทั้งเสริมศักยภาพ ความมั่นใจให้ให้กับผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (มีบัตรประจำตัว)
5) ข้อเสนอการจัดการประชุมความร่วมมือระหว่าง จังหวัดคู่ขนาน และเมืองคู่ขนาน จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งในประเด็นทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทีมงานสาธารณสุขประเทศเพื่อนบ้าน ในการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทุกๆปี
6) การสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพและสร้างความตระหนักองค์กรในชุมชนชายแดนในจัดการระบบการเฝ้าระวังโรคในชุมชนให้เหมาะสมตามบริบทในพื้นที่ ในการจัดการระบบเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในชุมชน ให้ชุมชนจัดระบบโดยตนเอง
7) การสนุนอุปกรณ์ การป้องกัน Mask Alcohol gel ให้ทีมเฝ้าระวังในชุชน อสม. ผู้นำชุมชน ด่านชุมชน
8) กรณีแรงงานข้ามชาติลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย หากตรวจพบเชื้อโรคโควิด-19 ยังไม่มีสถานที่กักกันโรคสำหรับกลุ่มคนเหล่านี้ก่อนผลักดันออกนอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อและการระบาดโรค ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการนี้ และให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในประเด็นดังกล่าว
ในการนี้ ท่าน สส. เอกภพ เพียรพิเศษ โฆษกคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ที่ช่วยสนับสนุนประเด็นต่างที่เสนอแนะ ซึ่งนักวิจัยได้นำเสนอผลงานประเด็นการจัดการระบบการจัดการผู้ลักลอบเข้าเมือง ทั้งคนไทย-ต่างชาติ กรณีแม่สายโมเดล การจัดการบริเวณช่องทางเข้า-ออกจุดผ่อนปรน กรณีแจมป๋องโมเดล บ้านสองคอนโมเดล การจัดการชุมชนบริเวณจุดผ่านแดนทางธรรมชาติ กรณีบ้านเมืองกาญจน์โมเดล และการเสริมสร้างศักยภาพ อสต. เพื่อช่วยในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ และงานด้านส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยคณะกรรมาธิการให้ความสนใจประเด็น อสต. นี้ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยสนใจประเด็นการจัดการจุดผ่อนปรน และจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดน ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของการผลักดันเชิงนโยบาย (Policy Advocacy) ของชุดโครงการศึกษาวิจัย