เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
ในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 นี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ก็จะได้เปิดภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563 หรือเปิดเทอมเป็นวันแรก โดยรองอธิการบดีที่ดูแลด้านวิชาการ รศ.ดร.นันทนา คชเสนี ได้เปิดเผยว่า มฟล. ได้มีการเตรียมความพร้อมในหลายด้านเพื่อรองรับการเรียนการสอนของทุกสำนักวิชา ซึ่งผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ต่อเนื่องจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับตัวเข้าสู่การเรียนการสอนแบบออนไลน์มาแล้วในระยะหนึ่ง และปีการศึกษาใหม่นี้ทางมหาวิทยาลัยได้นำรูปแบบ Blended Learning มาใช้เพื่อให้การเรียนการสอนยังคงมีประสิทธิภาพเช่นเดิม
รศ.ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ผ่านเหตุการณ์ของ โควิด-19 จึงได้มีนโยบายในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
“ในปีการศึกษา 2563 นี้ ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เป็นรูปแบบของ Blended learning ซึ่งจะมีการผสมผสานระหว่างการเรียนทฤษฎีที่เป็นรูปแบบออนไลน์ และการเรียนการสอนที่ยังต้องพบเจอกันในชั้นเรียนแบบ Face to face ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการ Discussion เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งยังต้องจัดโดยคำนึงถึง Social distancing โดยทั้งสองรูปแบบผสมผสานกันทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของ Self-learning skills ทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนในเรื่องของความรับผิดชอบต่อตนเอง และการบริหารจัดการเวลาของตนเอง”
“ในส่วนของ Face to face ที่นักศึกษาจะได้มาพบกับอาจารย์ จะเป็นการ Discussion แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งในการทำกิจกรรมที่เป็น Active activities ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนา Soft skills ทั้งเรื่องของ Critical thinking เรื่องของ Problem solving ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 และด้วยการปรับเปลี่ยนนี้ ทางมหาวิทยาลัยก็ได้จัดหน่วยงานให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนารูปแบบการสอน ซึ่งก็คือสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอน หรือ AEDO รวมถึงการจัดสถานที่ ห้องเรียน ซึ่งต้องปฏิบัติการข้อกำหนด ก็คือจัดในรูปแบบของ Social distancing”
“การออกแบบการเรียนการสอนนั้น ทางมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้อาจารย์ผู้สอนมีอิสรภาพในเรื่องของการจัดกิจกรรม เช่นในเซกชั่นหนึ่งจะนัดนักศึกษามาเรียนครึ่งหนึ่ง ในชั่วโมงที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแบ่งตามสัดส่วน แล้วแต่ท่านอาจารย์ที่จะจัดดำเนินการ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเข้ามาพบกับอาจารย์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้โดยตรง ปรับจากเซกชั่นที่มีขนาดใหญ่ก็จะทำให้มีขนาดลดลง โดยอีกส่วนหนึ่งก็จะเรียนในรูปแบบออนไลน์หรือในอีกช่วงเวลาหนึ่ง”
“ส่วนในเรื่องของสารสนเทศ ทางมหาวิทยาลัยก็ได้เตรียมความพร้อมและก็พัฒนา แต่ก็มีบางประเด็นอาจจะมีข้อติดขัดบ้าง แต่ก็หวังว่านักศึกษาและอาจารย์จะให้ความร่วมมือ และช่วยกันพิจารณาในการปรับปรุงกระบวนการเรียนให้ได้ประสิทธิภาพ ในสภาวะที่ไม่เป็นปกติ”
“ในส่วนของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็น Blended learning เข้าใจว่าท่านอาจารย์ทั้งหลายก็ต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ให้การสนับสนุนในด้าน Technical Assistants ในส่วนของนักศึกษา นักศึกษาก็ผ่านการเรียนเทอมที่แล้ว ที่เป็นออนไลน์มาส่วนหนึ่ง แต่ในเทอมนี้การพัฒนาเรื่องการจัดรูปแบบการเรียนออนไลน์จะดีขึ้น และคาดว่าประสิทธิภาพในการเรียนรู้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่เราคาดไว้ เพราะฉะนั้นความร่วมมือเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกันจึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาจะต้องให้ความสนใจ”
“ในเรื่องของกิจกรรมอื่นๆ เราก็พยายามจัดในสภาพที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเพิ่มบริเวณที่มี Wi-Fi hotspot ในการดำรงชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ก็จะได้รับการสนับสนุนและดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของสุขพลานามัย และในเรื่องของการเข้าสู่สภาวะที่มีกิจกรรมร่วมกันได้เหมือนสภาวะปกติต่อไป”
“เราก็ผ่านวิกฤตมา 4-5 เดือนแล้ว และเราก็คงคาดการณ์ไม่ได้ว่าข้างหน้าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอีก แต่เราก็ทำทุกวันให้ดีที่สุด แล้วก็เป็นกำลังใจให้กันและกัน” รองอธิการบดี กล่าว