เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมประดู่แดง 1 อาคารพลเอก สำเภา ชูศรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัดฝึกอบรมการใช้งานระบบ D-ToC จัดการขยะอันตรายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดเชียงรายจำนวนกว่า 122 คน จาก อปท. 72 แห่ง
อาจารย์ ดร.อนันต์ อึ้งวณิชยพันธ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มฟล. กล่าวว่า ระบบ D-ToC (ดีท๊อก) ย่อมาจาก Data supporting system for management of-Toxic waste from community in Chiang Rai Provinceเป็นระบบสนับสนุนการจัดการขยะอันตราย ที่พัฒนาขึ้นจากนักวิจัย จากสำนักวิทยาศาสตร์ และ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศของ มฟล. ภายใต้การสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
โดยระบบ D-ToC ได้เข้ามาสนับสนุนในการคัดแยกขยะ จัดเก็บ คำนวนปริมาณ ทำสถิติ และออกรายงาน โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านไอทีเข้ามาสนับสนุน เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยให้การทำงานเป็นไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้พัฒนาและเปิดใช้มาแล้วกว่า 2 ปี ได้ความร่วมมือจากทุกส่วน โดยเฉพาะ อปท. ทั้ง 143 แห่งที่รับผิดชอบดูแลขยะอันตรายในพื้นที่ของตัวเองในจังหวัดเชียงราย และเป็นผู้ใช้งานหลัก ได้ช่วยจังหวัดเชียงราย จัดการขยะไปแล้ว มากกว่า 100 ตัน (ปี 2560 23 ตัน , ปี 2561 118 ตัน) ซึ่งผลที่ได้นั้นตอบโจทย์นโยบายของประเทศในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการขยะ อีกทั้งได้ทำให้ชุมชนตื่นตัวในการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย
“ การทำงานของระบบคือหน่วยงานแต่ละแห่งเข้าใช้งานได้เฉพาะพื้นที่ของตน โดยการกรอกรายละเอียดของขยะอันตรายที่เก็บอย่างถูกวิธีเพื่อรอนำไปกำจัดตามหลัก โดยระบบจะประมวลผลสรุปข้อมูลทั้งจังหวัด โดยแสดงผลในรูปของกราฟ และ Sspreadsheet โดยปี 2562 ได้เพิ่มเติมการแสดงผลรายงานตาม EHA 4003 จากข้อมูลที่มีได้ และยังได้พัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพิเคชั่นมาใช้ดูข้อมูลได้ครับ เดิมทีสามารถกรอกข้อมูลผ่านมือถือได้ แต่ตอนหลังเราปรับมาเป็นการเน้นแสดงผลมากกว่าตามพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ใช้ผ่านเว็บหมดครับ ผู้สนใจดูข้อมูลขยะอันตรายที่จังหวัดเชียงรายได้ร่วมกับ อปท.ทั้ง 143 ร่วมมือกันทำให้ขยะเหล่านี้ถูกกำจัดถูกวิธี สามารถข้าดูได้ที่ www.dtoc.chiangraipao.go.th” อาจารย์ ดร.อนันต์ กล่าว
นอกจากนี้ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “D-ToC ระบบจัดการขยะอันตรายจากชุมชนของจังหวัดเชียงราย” และ “มาตรฐาน EHA 4003 การจัดการมูลฝอยที่เป็นพาหรืออันตรายขากชุมชน” โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และอาจารย์ ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ หัวหน้ากลุ่มวิขัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT) โดยอาจารย์ ดร.ปเนต ให้ข้อมูลว่า ระบบ D-ToC ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ที่ทำขึ้นมา และหลังจากนั้นได้มีระบบต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดการขยะพิษขึ้นอีกมาก อาทิ ระบบตู้เก็บอัจฉริยะ ระบบคลังขยะ ระบบบริหารจัดการขยะติดเชื้อ ซึ่งได้รับความสนใจจากจังหวัดต่างๆ ที่ขอเข้าศึกษาดูงาน นำมาซึ่งความร่วมมือที่จะมีการนำระบบ D-ToC ไปติดตั้งและใช้งานในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป นับเป็นก้าวใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะพิษในประเทศไทยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ และทางกลุ่มจะยังคงพัฒนาต่อไปเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย