เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย ศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง จัดโครงการฟื้นฟูและบำบัดรักษาสุขภาพแบบบูรณาการ กิจกรรมทำอย่างไรไม่ให้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2562 ที่ห้อง 301 อาคารพลตำรวจเภา สารสิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยพิธีเปิดมี พ.ต.ท.หญิงบุญฑิวา บุญยืน ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวรายงานก่อนเข้าสู่การเสวนาวิชาการ เรื่อง ‘กัญชาทางการแพทย์:ศาสตร์ชะลอวัยและการแพทย์แบบบูรณาการ’ โดย ดร.ภญ.อาริยา สาริกะภูติ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, อาจารย์ฤทธิชัย พิมปาและผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
การเสวนาได้พูดถึงกัญชาในทางการแพทย์ ภาพรวมในระดับนานาชาติ ประวัติของกัญชาในทางการแพทย์ 6,000 ปีที่ผ่านมา อาทิ 4000 ปีก่อนคริสตศักราช พบกัญชาเป็นหนึ่งในห้าธัญพืชหลักที่ปลูกในประเทศจีน, 2,737 ปีก่อนคริสตศักราช มีการบันทึกการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นครั้งแรก โดยจักรพรรดิ Shen Nung ของจีน 2,000-1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ยุคอายุรเวช มีการใช้กัญชาอย่างเปิดเผยและมีการค้นคว้าหาประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชา 900 ปีก่อนคริสตศักราช มีการใช้กัญชาในฤทธ์ที่มีต่อจิตและประสาทในแง่ การเสพเพื่อความบันเทิงและการแพทย์ คศ.1939 แพทย์ชาวไอริช แนะนำกัญชาสู่การแพทย์แผนตะวันตก และถูกบรรจุลงในเภสัชตำรับในยุคนั้น คศ.1914 กัญชาในการการแพทย์กลายเป็นยาเสพติดให้โทษในสหรัฐ คศ.1937 สหรัฐแบนการใช้กัญชา ห้าม การใช้ การซื้อ และการขาย คศ.1970 กัญชาถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทรษประเภทที่ 1 ในสหรัฐ ซึ่งทำให้มีการวิจัยในวงที่จำกัด และยังไม่สามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์ คศ.1988 พบกัญชาส่วนประกอบ เป็นสารเคมีหนึ่ง ตลอดจนกลไกการออกฤทธิ์ คศ.2000-2018 การใช้กัญชาทางการแพทย์มีการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมายในหลายประเทศ เช่น แคนาดา และหลายรัฐในสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยการจดทะเบียนสินค้าบริโภคทั่วไปที่มีส่วนผสมของกัญชาเพื่อความบันเทิง เป็นต้น
สำหรับภาพรวมของการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพและทางการแพทย์ ในประเทศไทย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดการควบคุมกัญาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งห้ามผลิต จำหน่วย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ ไป และยังห้ามิให้ผู้ใดเสพกัญชาอีกด้วย ในปัจจุบันมีการอนุญาตให้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เท่านั้น ขณะนี้มีการกำหนดข้อยกเว้นสำหรับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
ส่วนภาพรวมของประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กัญชาเพื่อสันทนาการยังคงผิดกฎหมาย แต่กัญชาในทางการแพทย์เป็นเรื่องถูกกฎหมายแล้วทั้งสองประเทศ มีการทดสอบสายพันธุ์และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้สารออกฤทธิ์ทั้งในกัญชาและกัญชง, ประเทศเตอร์กี กัญชามีการปลูก มามากกว่า 4,000 ปี และในศตวรรษ์ที่ 21 นี้ ตั้งเป้าเป็นผู้ผลิตกัญหาอันดับต้นของโลกหลังจากเคยถูกแบนมาหลายสิบปี แต่ปัจจุบันรัฐบาลประเทศเตอร์กีได้ทบทวนนโยบายใหม่ และส่งเสริมการปลูกในทางการแพทย์ และปัจจุบันมีการปลูกแบบถูกกฎหมายถึง 19 จังหวัด ส่วนประเทศอินเดียและศรีลังกา กัญชามีใช้ในตำรับอายุรเวทของอินเดียมานาน ปัจจุบันมีการใช้ในทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมายในหลายมลรัฐของอินเดีย ซื้อขายได้เฉพาะร้านค้าที่ได้รับอนุญาต เช่นเดียวกับที่ศรีลังกา ที่มีการใช้ในตำรับอายุรเวท การปลูกทำได้ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ผลิตได้ปีละ 25 ต้น เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังทวีปอเมริกาเหนือ
วงเสวนายังได้พูดถึงกัญชาในแง่มุมต่างๆ อีกหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผลเสียจาการใช้กัญชา ทั้งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ผลต่อเชาวน์ปัญหา ผลต่อความผิดปกติของจิต และผลต่อกลุ่มอาการติดยา หรือตำรับแพทย์แผนไทย จำนวนถึง 16 ตำรับ ที่มีส่วนประกอบเกี่ยวข้องกับกัญชาร่วมกับสมุนไพรสำคัญอื่นๆ รวมถึงความสนใจของคนไทยที่มีต่อกัญชาในทางการแพทย์ แต่ด้วยกัญชาอยู่ในฐานะยาเสพติด หากเกี่ยวข้องยังมีโทษตามกฎหมาย เว้นเฉพาะรายที่ได้รับอนุญาต การออกฤทธิ์ ขนาดการใช้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา การลักลอบใช้เองจึงเป็นเรื่องอันตรายเนื่องจากแต่ละคนต่างมีผลตอบสนองต่อกัญชาต่างกัน กัญชาไม่ได้รักษาได้ทุกโรค กัญชาให้ผลดีกับบางโรค บางราย บางระยะเท่านั้น หากมีความสนใจจึงต้องปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์