เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จัดกิจกรม ปฐมนิเทศนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 เมื่อวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2561 ณ ห้องคำมอกหลวง อาคาร E-Park, M-Square มฟล. จ.เชียงราย โดยมีนักศึกษาใหม่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาร่วมปฐมนิเทศกว่า 60 คน ซึ่งสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยฯ มฟล. เปิดทำการอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก แบ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบแพทย์และสำหรับผู้สนใจที่จบจากสาขาอื่นๆ ในการนี้ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการดี, นพ. ไพศาล รัมณีย์ธร คณบดีสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยฯ, ผศ.ดร.สุวรรณา เดชาทัย ผู้ช่วยอธิการบดี รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี ได้บอกเล่าถึงการจัดตั้งสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวันและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งได้จัดทำหลักสูตรเฉพาะทางนี้และก่อตั้งอย่างเป็นทางการแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งยังกล่าวเน้นย้ำกับนักศึกษาใหม่ว่า ความมุ่งหวังที่สำคัญของการบ่มเพาะนักศึกษาแม่ฟ้าหลวงก็คือ การรักษาไว้ศึกษาคุณภาพ ซึ่งเปรียบเป็นเครื่องหมายการค้าของแม่ฟ้าฟ้าหลวง อันจะเป็นสิ่งที่สร้างการยอมรับแก่คนในงกว้าง
ด้าน รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ รองอธิการบดี ได้ให้ข้อคิดแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยฯ ว่า “ความมุ่งหวังที่จะได้สร้างสิ่งใหม่ของการเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ก็คือเราต้องทำในสิ่งที่ต้องตอบสนองความต้องการของประเทศ คือการที่ทำให้ตัวเราเองมีความรู้มีศักยภาพเพียงพอ เพราะในระดับบัณฑิตศึกษาก็จะเป็นอะไรที่ยากมากกว่าในระดับปริญญาตรี หลายท่านในห้องนี้เป็นแพทย์ การเรียนในสายของแพทย์โดยวิชาชีพเป็นสิ่งที่ยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย เชื่อว่าทุกท่านที่เข้ามาเรียนมีธงที่แห่งการเรียนรู้ที่ตั้งไว้เป็นของตนเอง ในวันนี้สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มฟล. มีอายุมากกว่า 10 ปี จำนวนนักศึกษายังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เรายึดถือแนวนโยบายของท่านอธิการบดีที่ชูเรื่องของคุณภาพ
“ความก้าวหน้าของบัณฑิตศึกษาคืออะไร ประเด็นแรกก็คือการสร้างงานวิจัยเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการวางแผนของการเรียนรู้ที่จะทำให้ตนเองสำเร็จการศึกษาได้อย่างที่มุ่งหวัง อย่างที่ 3 ก็คือการทำแผนที่ชีวิต วางแผนว่าเราจะจบการศึกษาเมื่อไหร่ แล้วจะทำอย่างไรให้เป้าหมายนั้น การเรียนเกี่ยวกับเวชศาสตร์ชะลอวัย มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องหลากหลายสูงมาก เพราะแต่ละวิชาชีพที่จบออกไป สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด
“วันนี้ธงของประเทศเรื่องของ anti-aging เป็น agenda ของประเทศและของทั่วโลก เพราะปัจจุบันประชากรที่เข้าสู่วัยสูงวัยมีสูงมาก และสูงขึ้นเรื่อยๆ ปีนี้อายุเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่74 ปี ถ้าหากเราต้องดูแลกันในวัยหลังเกษียณ การดูแลสุขภาพคนช่วงวัยนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้มีความดูดีสุขภาพดี ทำให้คนมีอายุยืนยาวและอยู่ได้ด้วยด้วยความสุข โดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาล
“ถ้าเราเข้ามาเรียนเราต้องรู้ว่าเราจะตั้งเป้าหมายอย่างไร สิ่งสำคัญคืออะไรเราต้องรู้จักสิ่งเหล่านั้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องมือการวัดคุณภาพ อีกอย่างคือเรื่องของทักษะภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบัน ในการทำงานด้านวิชาการการ ค้นหาข้อมูลต่างๆ ปัจจุบันล้วนเป็นภาษาอังกฤษ เชื่อมโยงสู่การหาหัวข้อการทำงานวิจัย ต้องเป็นหัวข้อที่อยู่ในระดับที่เป็นสากล พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เราเกิดปัญหาในการทำงานวิจัย อีกสิ่งหนึ่งที่พึงพิจารณาก็คือเรื่องของจริยธรรมในมนุษย์ เพราะเวชศาสตร์ชะลอวัยมีความเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้พยายามสร้างมาตรฐานในเรื่องนี้อย่างชัดเจน และท้ายที่สุดที่อยากเน้นย้ำก็คือ การทำผลงานต้องเป็นผลงานวิจัยที่สะอาด มีการตรวจสอบการละเมิดทางวิชาการทั่วโลก มารยาทของนักวิชาการและนักวิจัย เมื่อนำข้อมูลมาใช้ต้องให้เกียรติและกล่าวอ้างถึงเจ้าของผลงานเสมอ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีกลไกและสิ่งสนับสนุนให้สำหรับนักศึกษาสามารถทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม และไม่ละเมิดผลงานของผู้อื่น” รองอธิการบดี มฟล. กล่าว