เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

นศ. มฟล. 4 คน ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน นศ. ไทยจากทั้งหมด 35 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจใน 5 ประเทศ

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 4 คน ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักศึกษาไทยจากทั้งหมด 35 คน จาก 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เข้าร่วมฝึกประสบการณ์ในต่างประเทศกับบริษัทขนาดใหญ่ด้านธุรกิจ เป็นระยะเวลา 14 วัน ภายใต้โครงการ Experiential Learning Program : ELP Program (โครงการโปรแกรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมกับพันธมิตร) ภายใต้โครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อสร้างนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการระดับโลก พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจใน 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขณะเดียวกันร่วมหารือกับผู้บริหาร IRIIG สถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศฝรั่งเศสนำนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการและพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทย - ฝรั่งเศส

รายชื่อนักศึกษาที่ได้ร่วมโครงการ
1 นายธนัช ณ หนองคาย
   นักศึกษาระดับปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเชิงสร้างสรรค์
2 นางสาวบุษราพร มั่นคงปิยชาติ
   นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
3 นายชาคริต เซลามัน
   นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
4 นางสาวอนัดดา กิ้นโบราณ
   นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

โดยนายธนัช ณ หนองคาย ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 7 นักศึกษาให้ร่วมเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 17 พ.ย.67 ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ร่วมกับ รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำทีมนักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ ม.เชียงใหม่ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.ขอนแก่น ม.อุบลราชธานี และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้โครงการการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ นำเสนอ Final Pitching กับผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบการของฝรั่งเศส ที่ประเทศฝรั่งเศส

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า การนำเสนอ Final Pitching ครั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาได้ร่วมหารือเพื่อพัฒนาและทดลองความเป็นไปได้ร่วมกับผู้ประกอบการ และการทดสอบตลาดในเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ที่สามารถเชื่อมต่อกับความทรงจำบนแพลตฟอร์มออนไลน์  อิฐประหยัดพลังงานที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนให้กับอาคารและออกแบบให้ง่ายต่อการติดตั้ง แพลตฟอร์มบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติแบบไพรเวทและปรับแต่งได้สูง สเปรย์เคลือบเพื่อป้องกันและขจัดคราบบนรองเท้าสนีกเกอร์จากธรรมชาติ แพลตฟอร์ม AI ที่ช่วยผู้เลี้ยงผึ้งป้องกันความเสี่ยงและปรับปรุงการผลิตน้ำผึ้งด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ครบครันและแม่นยำ แผ่นปิดแผลสำหรับแผลกดทับที่มีระบบส่งตัวยาได้ถึง 48 ชั่วโมง และผลิตภัณฑ์ Can Care มูส สระผม ฆ่าเชื้อ เเบบไม่ใช้น้ำ สารสกัดธรรมชาติ ทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อผู้ป่วยและยั่งยืนต่อโลก

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวต่อว่า โดยการนำเสนอในครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบการของฝรั่งเศส จาก ECAM (École catholique d'arts et métiers) ซึ่งเป็นสถาบันบ่มเพาะผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส นำโดย Ms.Séverine Delavernhe: ECAM LaSalle Lyon Campus Direct  Ms. Eerin Monaghan : SME Pole Manager และ Mrs. Caroline Hanras: International relations department  Manager เข้าร่วมให้แนวคิดและข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  • 71 ครั้ง
  • #MFii ส่วนจัดการทรัพสินทางปัญญาและนวัตกรรม