เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

ต้อนรับนักเรียนมัธยมปลายจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย เข้าเรียนแล็บวิทยาศาสตร์วันแรกกับอาจารย์วิทยาศาสตร์ มฟล. ในโครงการ MFU Pre-University ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ร่วมกันดำเนินโครงการการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย (MFU Pre-University) มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดการเรียนในระดับอุดมศึกษา และเปิดโอกาสให้แก่ผู้สนใจศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีประสบการณ์ในการเรียนการสอนกับอาจารย์และห้องปฏิบัติการในระดับมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2567 
.
ทั้งนี้ในช่วงต้นของโครงการ เป็นการเรียนการสอนแบบบรรยายจัดขึ้นที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ก่อนเข้าสู่ช่วงการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือห้องแล็บวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยวันนี้เป็นวันแรกที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ต้อนรับนักเรียนจากโครงการฯทั้งหมด 87 คน เข้าเรียนแล็บวิทยาศาสตร์ตั้งแต่วันนี้จนถึงจบโครงการ เริ่มการเรียนการสอนในวิชาเคมีและชีววิทยาในช่วงเช้า กับอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.ชุลีพร ถนอมศิลป์ และดร.ขนบพร ตั้งตะกูลวนิช ตามลำดับ สำหรับช่วงบ่ายจะเป็นแล็บฟิสิกส์ กับ ดร.สมวัน ชุ่มพงษ์พันธ์ และผศ.ดร.อนันต์ อึ้งวณิชยพันธ์ ตามลำดับ โดยมี ดร.มยุเรศ ใบบัวเทศ หัวหน้าโครงการ English Program จากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ร่วมสังเกตการณ์การเรียนการสอน
.
โดยหัวข้อในการการเรียนสอน เริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในห้องเคมี ความเที่ยงและความแม่นยำของข้อมูล กฎระเบียบและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและพืช ก่อนไปสู่การเรียนการสอนต่างๆ ที่จะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการใช้กล้องจุลทรรศและการวัดขนาดเซลล์แบคทีเรีย พืช และสัตว์ ปฏิกิริยาการทำน้ำหอม การสกัดดีเอ็นเอและการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพดีเอ็นเอที่ได้จากหัวหอม ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติสำคัญบางประการของพอลิเมอร์ ศึกษาการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส เป็นต้น
 

  • 239 ครั้ง