เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
ขอแสดงความยินดีกับ "ชมรมดนตรีไทย-พื้นเมือง" มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) คว้ารางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันดนตรีพื้นบ้าน ในงานมหกรรมดนตรีพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2567 ณ ลานกาสะลอง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงราย จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมเชียงราย ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด (กิจกรรมถ่ายทอด ฟื้นฟูอัตลักษณ์ดนตรีท้องถิ่นภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย) ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) โดยมี นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดงาน และมอบรางวัลให้แก่ทีมที่ชนะการแข่งขันตีกลองสะบัดชัย
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแข่งขันการประกวดดนตรีพื้นบ้าน (สะล้อ ซอ ซึง) การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย ของเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ โดยมีทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ทีม, นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านล้านนา (สะล้อ ซ อซึง, ปี่พาทย์ล้านนา และกลองสะบัดชัย), การแสดงดนตรีและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม, การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา และกิจกรรมกาดหมั้วคัวเมือง
ทาง ชมรมดนตรีไทย-พื้นเมือง มฟล. โดยมี นางสาวปานจรี ดีอนันต์ลาภ เจ้าหน้าที่บริหาร ส่วนพัฒนานักศึกษา มฟล. เป็นผู้ควบคุมวงและฝึกซ้อม ได้ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน โดยในวันที่ 3 สิงหาคม 2567 ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันกลองสะบัดชัย” โดย ผศ. รัตนะ ตาแปง เป็นผู้ฝึกสอน และในวันที่ 4 สิงหาคม 2567 ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันวงสะล้อ ซอ ซึง” โดย อาจารย์พรหเมศวร์ สรรพศรี ที่ปรึกษาชมรมฯ เป็นผู้ฝึกสอน
.
รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน มีดังนี้
-รางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตีกลองสะบัดชัย”
1.นายไกรฤกษ์ ไชยรังษี (กลองสะบัดชัย) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
2.นายภูรินท์ อินลือ (ฉาบใหญ่) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
3.นางสาวฐาปนี เอียงสันเทียะ (ฉาบเล็ก) สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
4.นายปัญจะภูมิ ศรีงาม (ฉาบเล็ก) สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์
5.นางสาวอรพิชญ์ ชัยภูวนารถ (โหม่ง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
6.นางสาวมัณฑนา ขยิ่ม (โหม่ง) สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
7.นางสาวชนกกร โอดคำ (โหม่ง) สำนักวิชาจีนวิทยา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
8.นางสาวภัทร์นฤน สายันเกณะ (โหม่ง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
9.นางสาวประกายรัตน์ โปทารี (โหม่ง) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
10.นางสาวศุภานัน ภู่สีม่วง (โหม่ง) สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
11.นางสาวธนาภรณ์ แสนปัน (โหม่ง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
12.นายโอบนิธิ ใจรื่น (ถือกลอง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
13.นายภัทรพล ก๋ากาศ (ถือกลอง) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
.
-รางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง)”
1.นางสาวอรพิชญ์ ชัยภูวนารถ (สะล้อเล็ก/ขับร้อง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
2.นางสาวมัณฑนา ขยิ่ม (สะล้อกลาง) สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
3.นายโอบนิธิ ใจรื่น (ขลุ่ย) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
4.นายภัทรพล ก๋ากาศ (ซึงเล็ก) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
5.นางสาวประกายรัตน์ โปทารี (ซึงกลาง) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
6.นางสาววาสนา พวงมาลัย (ซึงใหญ่) สำนักวิชาจีนวิทยา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
7.นายไกรฤกษ์ ไชยรังษี (กลอง) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
8.นางสาวฐาปนี เอียงสันเทียะ (ฉาบ) สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
9.นางสาวภัทร์นฤน สายันเกณะ (ฉิ่ง) สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
10.นายเศรษฐศิริ แดงจันทร์ตา (โหม่ง) สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
.
ขอบคุณ ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก Facebook: สนง.วัฒนธรรม เชียงราย