มฟล. จัดอบรมการประเมินความเสี่ยงและตอบโต้เหตุฉุกเฉินในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ให้แก่ครูประถม-มัธยมตอนต้นในพื้นที่เชียงราย

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

    เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี และศูนย์บริการวิชาการ จัดการอบรมโครงการการประเมินความเสี่ยงและตอบโต้เหตุฉุกเฉินในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ณ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 3 (S3) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพื่อการพัฒนาครูชนบท โดยมี นายนาวิน ธรสาธิตกุล ผู้ช่วยผู้อานวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการ พร้อมกล่าวเปิดการอบรม มีคุณครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเข้าร่วมการอบรม จำนวน 50 คน

    การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูและนักเรียนได้ทราบถึงความเสี่ยงและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ มีความเข้าใจในกระบวนการประเมินความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยเบื้องต้น สามารถตรวจเช็คอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินเบื้องต้นได้ และสามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเบื้องต้นกรณีเกิดเหตุจากการทดลองภายในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังผู้ใช้ห้องเรียนวิทยาศาสตร์คนอื่นต่อไปได้อีกด้วย ซึ่งการจัดโครงการนี้ มุ่งส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นแหล่งองค์ความรู้เพื่อการบริการชุมชน การเป็นที่พึ่งด้านปัญญาแก่สังคมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    โดยในภาคเช้าเป็นการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ประกอบด้วย หัวข้อ ทำไมถึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัย? โดย นายนาวิน ธรสาธิตกุล วิทยากร และนายธวัชชัย ทรายขาว ผู้ช่วยวิทยากร, หัวข้อ แหล่งที่มาและการจัดการความเสี่ยงจากอันตราย โดย นางสาวดรุณี ขวักไขว่ วิทยากร และนายธวัชชัย ทรายขาว ผู้ช่วยวิทยากร, หัวข้อบรรยายและปฏิบัติการ การประเมิน ลด และควบคุมความเสี่ยงจากอันตราย โดย นายธวัชชัย ทรายขาว วิทยากร และนางสาวดรุณี ขวักไขว่ ผู้ช่วยวิทยากร

    ส่วนในภาคบ่าย มีการบรรยายพร้อมปฏิบัติการ ประกอบด้วย หัวข้อ การจัดทาแบบฟอร์มตรวจเช็คอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉิน โดย นายอิทธิพล จันทร์ปัน วิทยากร และนายนที ศิริอุดม ผู้ช่วยวิทยากร, หัวข้อ การจัดทาจัดทาขั้นตอนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและฝึกปฏิบัติ โดย นายนที ศิริอุดม วิทยากร และนายอิทธิพล จันทร์ปัน ผู้ช่วยวิทยากร

.

     นายนาวิน ธรสาธิตกุล ผู้ช่วยผู้อานวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการว่า ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญต่อหรับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สามารถทำการทดลองและปฏิบัติได้จริงผ่านสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีภายในห้องปฏิบัติการ จากข้อมูลห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  และมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าภายในห้องเรียนมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการงาน ได้แก่ ครูผู้สอน และนักเรียน ภายในห้อง 

    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงได้จัดโครงการการประเมินความเสี่ยงและตอบโต้เหตุฉุกเฉินในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงจากอันตรายและเตรียมพร้อมตอบโต้เหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฝึกซ้อมแผนรับมือเหตุฉุกเฉินให้แก่ครูผู้สอนและนักเรียนที่ทําการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นข้อมูลให้ครูผู้สอนสามารถนำไปถ่ายทอดและซ้อมแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉินให้แก่นักเรียนของตนเองได้

    “ที่ผ่านมาศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการจัดโครงการบริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ ในหัวข้อต่าง ๆ ได้มีการนำองค์ความรู้ที่หน่วยงายของเราได้มีการนำระบบมาตรฐานความปลอดภัยมาใช้ในการบริหารจัดการห้องแล็บ เราเล็งเห็นว่าองค์ความรู้ที่เรามีน่าจะเป็นประโยชน์ที่จะนำมาถ่ายทอด ส่งต่อให้แก่ชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดหรือริเริ่มโครงการของตนเองได้ ในส่วนของคุรครูที่มาร่วมอบรมกับทางเราในครั้งนี้ ก็คือคุณครูระดับประถามศึกาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น เราได้มีการปรับเปลี่ยนห้องปฏิบัติการของเราเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ที่มาร่วมอบรม มีเนื้อหา มีเอกสาร ตัวอย่าง ที่เราได้รวบรวมไว้ ซึ่งทางคุณครูสามารถเอาไปปรับใช้ได้ให้เหมาะสม”

   “สำหรับการอบรมภาคปฏิบัติการ จะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเช็คลิสต์ในการตรวจสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ปฏิบัติงานง่าย ๆ ทางวิทยากรจะพาคุณครูไปเยี่ยมชมห้องแล็บเคมีของเรา ซึ่งจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ท่านจะได้ฝึกสังเกต ได้ตรวจเช็คความปลอดภัยในจุดต่าง ๆ ที่เราทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานมาให้ เพื่อจะได้ตรวจเช็ค ตรวจสอบอุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่คิดว่าโรงเรียนน่าจะมี เช่น ถังดับเพิลง โทรศัพท์ที่ใช้สื่อสารเมื่อเกิดเหตุ ปิดท้ายด้วยกรณรีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน อัคคีภัยขึ้นในโรงเรียน เราจะมีขั้นตอน มีหลักากรในการดำเนินการอย่างไร คุณครูสามารถนำเอาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปต่อยอเพื่อให้ตอบโจทย์กับห้องเรียนของทตนเอง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษาหรือโรงเรียนของตนเองได้”

.

ชมภาพเพิ่มเติม

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=MFUTODAY&set=a.792084963051835

  • 194 ครั้ง
  • #ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #ศูนย์บริการวิชาการ