เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวเปิดกิจกรรมเสวนาและแนะนำผลงานศิลปะมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติครั้งที่ 3 Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ที่จัดขึ้นในพื้นที่อำเภอเชียงแสน ภายในงานมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง "เปิดความลับของเชียงแสนด้วยศิลปะ" และเรื่อง "Pluviality" โดยมีศิลปินและผู้สนใจในงานศิลปะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
รศ.ดร.พลวัฒ กล่าวว่า เชียงแสนมีการจัดกิจกรรมทางศิลปะในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติหลายแห่ง คือ ศูนย์ดิติทัลชุมชน ต.เวียงเชียงแสน โบราณสถานหมายเลข 16 (ในเมือง) โกดังห้วยเกี๋ยง บนถนนสายเชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ วัดป่าสัก พิพิธภัณฑแห่งชาติเชียงแสน ฯลฯ โดยบางเรื่องจัดทำในรูปแบบภาพยนตร์ บางเรื่องเป็นภาพแผนที่ที่มีข้อความต่างๆ และภาพวาดตามจินตนาการของศิลปิน ฯลฯ เพราะเชียงแสนมีความลับที่สลับซับซ้อนดังนั้นจึงมีการนำเสนอในรูปแบบศิลปะดังกล่าว
ศิลปะจะนำไปสู่ความลับที่ซับซ้อนยังซุกซ่อนในเชียงแสน เสียงที่ไม่ได้ยิน ร่องรอยที่มองไม่เห็น ส่งเสียงว่า “ฉันอยู่ที่นี่ ที่เชียงแสน” ผลงานศิลปะไปไกลเกินกว่าที่ตัวเมืองเมืองเชียงแสนที่เราเห็นว่ามีโบราณสถาน และจารึกประวัติศาสตร์ แต่ยังมีบรรพชน ผี นาคา อารักษ์ ที่ร่วมสร้าง และยังอยู่ในร่องรอยที่มองไม่เห็น Kader Attia ศิลปินเปรียบสรรพสิ่งนั้นได้ดังสายฝนที่ฝากร่องรอยไว้กับโบราณสถาน และจิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปินจะได้นำเสนอเสียงพูดของผู้คนที่หลากภาษาผ่านกาลเวลามายังปัจจุบัน เมื่อทุกท่านยืนเผชิญหน้าความลับของเมืองเชียงแสนจะรู้สึกถึงพลังของสรรพสิ่งที่ผ่านงานศิลปะของศิลปิน ความลับของเมืองเชียงแสนที่ ทับซ้อน ซุกซ่อน เปรียบได้ดังบทกวี พื้นบ้านเชียงแสน ดังนี้
“จีจีมะลิซ้อน มาบานซอนกับดอกทายเหิน
จีจีดอกเอื้องเงิน มาบานซอนดอกเอื้องเผิ้ง
ยามเมื่อลมมาตี หอมเอยนดี หวั่นเหวิ้ง
ลมพัดเนิ้งอ่อน ทวยลม”