เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มฟล. จัดอบรม Train the Trainer เพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัดกิจกรรม การจัดฝึกอบรมหลักสูตร Train the Trainer เพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจการพัฒนาที่ยั่งยืนในยุคหลังวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โครงการ Project on Skills Development in Cambodia, Lao PDR, and Myanmar ภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS :  Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ในระหว่างวันที่ 20-25 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมคำมอกหลวง อาคาร M-Square ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และศึกษาดูงานในชุมชนและองค์กรในจังหวัดเชียงราย 3 แห่ง 
.
กิจกรรมนี้เป็นการฝึกอบรมนักฝึกอบรมหรือ Train the Trainer ภายใต้แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เป้าหมายคือส่งต่อความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้นำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จาก ลาว กัมพูชา เมียนมา ที่ทำงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ด้านการพัฒนา ระยะเวลาการอบรม 6 วัน เนื้อหาการอบรมมีทั้งส่วนของการเรียนรู้ภาคทฤษฎี วิทยากรจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่มีความรู้เรื่อง BCG 
.
และอีกส่วนคือการพาผู้เข้าร่วมฝึกอบรมไปเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงของการทำงานพัฒนาในรูปแบบของ BCG ซึ่งพาไป 3 แห่ง ที่บ้านปางห้า อ.แม่สาย ผลิตกระดาษสา วัสดุธรรมชาติ วัสดุรีไซเคิล อีกแห่งที่บ้านผาหมี เป็นชุมชนที่ทำเรื่องโฮมสเตย์ใช้วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ามาทำการพัฒนาหมู่บ้านและเรื่องกาแฟด้วย และสุดท้ายคือโครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งทำเรื่อง BCG ด้วยเช่นกัน 
.
โดยท้ายที่สุดกิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ความรู้เกี่ยวกับ BCG และมีแผนที่จะนำไปฝึกอบรมต่อที่ประเทศ โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยได้ทำตามเป้าหมายในการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและยังได้ขยายองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเราสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ต่อไปเราจะได้เครือข่าย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่ทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน  
.
กิจกรรมในช่วงแรกเป็นการบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึง BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล สำนักวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร, การบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์, การบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร และกิจกรรมระดมความคิดเห็น โดย คุณสันติ เล็กสกุล
.
ส่วนกิจกรรมดูงานการนำองค์ความรู้ BCG มาประยุกต์กับการท่องเที่ยวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชน ผู้เข้าอบรมได้เดินทางไปใน 3 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่ บ้านปางห้า อ.แม่สาย,  บ้านผาหมี อ.แม่สาย จ.เชียงราย และโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยมีอาจารย์สืบสกุล กิจนุกร สำนักวิชานวัตกรรมสังคมสรุปประเด็นรับฟังการบรรยายและศึกษาดูงานในพื้นที่ ทั้งยังมีการฝึกออกแบบหลักสูตรอบรมของแต่ละประเทศ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล สำนักวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร 

  • 1441 ครั้ง
  • #สำนักวิชานวัตกรรมสังคม