เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

มฟล. จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2564

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

มฟล. จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2564

.

     มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย ศูนย์บริการวิชาการ จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2564 จำนวน 50 รูป/คน ใน 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 พุทธศิลป์พื้นฐาน แผน ก ทฤษฎีศิลปะ แผน ข ทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะ ระดับที่ 2 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ และระดับที่ 3 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ขั้นสูง โดยได้รับความเมตตาเป็นอย่างสูงจาก สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และกรรมการมหาเถรสมาคม มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษา โดยมี พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) กล่าวแสดงความยินดีในฐานะผู้ก่อตั้งหลักสูตร รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร คณาจารย์ประจำหลักสูตร และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธี เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมคำมอกหลวง อาคาร M-Square มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

    ปัจจุบัน หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2565 และอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเปิดรับสมัครผู้เรียน รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2566 เพื่อจะทำการคัดเลือกผู้เรียนต่อไป

คลิก ชมอัลบั้มภาพ

     ศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวรายงานว่า หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม เกิดจากความคิดริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ พระเมชีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปีพุทธศักราช 2554 และ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่มีแนวคิดร่วมกันในการจัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมผู้ที่มีความสนใจศึกษาด้านพุทธศิลปกรรม เน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุนทรียศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติแบบเข้มข้น นำหลักการมาปรับใช้ในด้านการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ สร้างสรรค์ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานพุทธศิลปกรรมให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมให้คงอยู่ตลอดไป และหยุดยั้งการทำลายพุทธศิลปกรรมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

      กลุ่มเป้าหมายคือ พระภิกษุ สามเณร และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุ และระดับการศึกษา เปิดรับผู้เรียนรุ่นที่ 1 มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2564 จำนวน 50 รูป/คน ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 พุทธศิลป์พื้นฐาน แผน ก ทฤษฎีศิลปะ จำนวน 15 รูป/คน และ แผน ข ทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะ จำนวน 15 รูป/คน เรียนแบบผสมผสาน ผ่านระบบออนไลน์ และเรียน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ระดับที่ 2 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ จำนวน 15 คน และ ระดับที่ 3 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ขั้นสูง จำนวน 5 คน เรียน ณ มหาวิทยาสัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าระคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะจังหวัดและคณะสงฆ์จังหวัดชียงราย และศิลปินจังหวัดเชียงรายที่มีชื่อเสียง ที่ให้เกียรติมาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมทั้งยังมีอีกหลายท่านให้การสนับสนุนหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ด้วยดีมาโดยตลอด

    “หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ดำเนินการในลักษณะการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเป็นโครงการบริการวิซาการที่ไม่มีรายได้ อาศัยงบประมาณจากกองทุนพุทธศิลปกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธา และจากรายได้จำนวนร้อยละ 40 จากการจำหน่ายผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำหลักสูตรและผลงานของผู้เรียน โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสนับสนุนด้านอาคารสถานที่และการดำเนินการทั้งหมด ดำเนินงานโดยศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”

   “ในปี 2565 ที่ผ่านมา ผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รุ่นที่ 1 พุทธศักราช 2564 ได้เข้าร่วมการประกวดและได้รับรางวัลการประกวดผลงานสร้างสรรค์ในระดับชาติหลายรูป/คน รวมถึงได้นำผลงานจัดแสดงในนิทรรศการพุทธศิลปกรรม ณ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่เข้าชม และสามารถจำหน่ายผลงานสร้างสรรค์ได้เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงผลผลิตอันทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นตัวผู้เรียน ซึ่งผลงานผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและปณิธานของผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรอย่างชัดเจน” ศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าว

.

     ศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวรายงานว่า หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม เกิดจากความคิดริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ พระเมชีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปีพุทธศักราช 2554 และ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่มีแนวคิดร่วมกันในการจัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมผู้ที่มีความสนใจศึกษาด้านพุทธศิลปกรรม เน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุนทรียศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติแบบเข้มข้น นำหลักการมาปรับใช้ในด้านการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ สร้างสรรค์ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานพุทธศิลปกรรมให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมให้คงอยู่ตลอดไป และหยุดยั้งการทำลายพุทธศิลปกรรมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

      กลุ่มเป้าหมายคือ พระภิกษุ สามเณร และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุ และระดับการศึกษา เปิดรับผู้เรียนรุ่นที่ 1 มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2564 จำนวน 50 รูป/คน ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 พุทธศิลป์พื้นฐาน แผน ก ทฤษฎีศิลปะ จำนวน 15 รูป/คน และ แผน ข ทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะ จำนวน 15 รูป/คน เรียนแบบผสมผสาน ผ่านระบบออนไลน์และเรียน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ระดับที่ 2 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ จำนวน 15 คน และ ระดับที่ 3 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ขั้นสูง จำนวน 5 คน เรียน ณ มหาวิทยาสัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะจังหวัดและคณะสงฆ์จังหวัดชียงราย และศิลปินจังหวัดเชียงรายที่มีชื่อเสียง ที่ให้เกียรติมาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมทั้งยังมีอีกหลายท่านให้การสนับสนุนหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ด้วยดีมาโดยตลอด

    “หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ดำเนินการในลักษณะการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเป็นโครงการบริการวิซาการที่ไม่มีรายได้ อาศัยงบประมาณจากกองทุนพุทธศิลปกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธา และจากรายได้จำนวนร้อยละ 40 จากการจำหน่ายผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำหลักสูตรและผลงานของผู้เรียน โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสนับสนุนด้านอาคารสถานที่และการดำเนินการทั้งหมด ดำเนินงานโดยศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”

   “ในปี 2565 ที่ผ่านมา ผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รุ่นที่ 1 พุทธศักราช 2564 ได้เข้าร่วมการประกวดและได้รับรางวัลการประกวดผลงานสร้างสรรค์ในระดับชาติหลายรูป/คน รวมถึงได้นำผลงานจัดแสดงในนิทรรศการพุทธศิลปกรรม ณ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่เข้าชม และสามารถจำหน่ายผลงานสร้างสรรค์ได้เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงผลผลิตอันทรงคุณค่าที่เกิดขึ้นจากตัวผู้เรียน ซึ่งผลงานผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และปณิธานของผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรอย่างชัดเจน” ศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าว

.

     สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และกรรมการมหาเถรสมาคม กล่าวสัมโมทนียกถา ความว่า ขอแสดงความชื่นชมอนุโมทนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ที่ในวันนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรก ซึ่งถือเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ของหลักสูตรและของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

    “ขอชื่นชมในความสำเร็จของผู้ได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมด้วยองค์ความรู้ด้านศิลปะและเข้าถึงสุนทรียะของงานพุทธศิลป์ได้อย่างลึกซึ้ง อันเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้วยความวิริยะอุตสาหะ จึงสามารถฝ่าฟันจนสำเร็จการศึกษา และได้รับเกียรติครั้งสำคัญในชีวิต”

    “ขอชื่นชมยินดีผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วย พระเมธีวชิโรดม ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้น อีกทั้งขออนุโมทนา รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คณาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้จัดการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรมมาอย่างต่อเนื่อง”

     “ผู้สำเร็จการศึกษาทุกท่าน การสั่งสมองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ถือว่าเป็น Soft power ที่ทรงคุณค่า ทั้งอาณาจักรและศาสนจักร เพราะไม่เพียงแต่จะสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งเป็นเมืองพุทธเท่านั้น แต่ยังสะท้อนภาพความเป็นอารยธรรมออกไปสู่สายตาของผู้ที่ได้มีโอกาสสัมผัสสุนทรียะของทางพุทธศิลป์ ผ่านการสร้างสรรค์ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและเข้าใจรากฐานของพุทธศิลปกรรม ซึ่งมีความงดงามและอุดมด้วยคุณค่าในทางศิลปะ และสามารถตอบโจทย์พุทธศิลป์คืองานศิลปะที่เข้ากับทุกยุคทุกสมัย ซึ่งแฝงอยู่ในวิถีไทยและวิถีโลกได้อย่างแท้จริง จึงควรที่จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้านพุทธศิลป์ให้มีความต่อเนื่อง ภายใต้ภูมิรู้และภูมิธรรม ที่ทุกท่านได้สั่งสมอบรมมา”

    “อาตมาภาพมีความเชื่อมั่นว่า การที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถผลิตผู้สำเร็จหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรมเป็นรุ่นแรก ถือเป็นก้าวแรกที่มั่นคง และเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรรุ่นต่อ ๆ ไป และจุดประกายการสร้างแรงบันดาลใจ ความสนใจใฝ่รู้ให้แก่ผู้เข้ามาศึกษา เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ พัฒนาและสื่อสารด้านพุทธศิลป์ให้เกิดประโยชน์ เกิดผล ในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างยั่งยืนตลอดไป” สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กล่าวสัมโมทนียกถา

.

     พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน กล่าวแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จหลักสูตร

    “วันนี้เรามาถึงจุดหมายแรกของหลักสูตรพุทธศิลปกรรมได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ๆ แล้วเท่าที่ทราบ นิสิตของเราหลายคนได้รับรางวัลระดับชาติระหว่างที่ศึกษาอยู่แล้วหลายคน รวมทั้งได้รับรางวัลต่างประเทศด้วย เป็นเรื่องดีเหลือเกินที่เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น เราไม่ได้ค้นพบเพชรดีมณีแดงเท่านั้น แต่ด้วยความรับผิดชอบที่ท่านอาจารย์เฉลิมชัย อาจารย์วันชัย และเจ้าประคุณสมเด็จมอบให้ พระอาจารย์ต้องสอนวิชาพุทธปรัชญา ซึ่งไม่ได้มีเป็นหลักสูตร เป็นเหตุให้ 3 ปีมานี้ โควิดก็ไม่ได้อนุญาตให้ไปไหน จึงได้เรียบเรียงหลักสูตร คัดกลั่นกรองเอาหลักธรรมจากพระไตรปิฎก มาเป็นคู่มือ กลายเป็นหนังสือเล่มนี้คือ อัจฉริยลักษณ์จากพระพุทธศาสนา และได้มอบให้นิสิตของเราเอาไปอ่าน และจากนั้นให้ถอดรหัสออกมาเป็นงานศิลปะ ปรากฏว่าผลงานที่ทำมาได้ผลดีเกินคาด คือลูกศิษย์ก็ได้ ครูบาอาจารย์ก็ได้ ถ้าไม่มีหลักสูตรนี้ก็ไม่มีหนังสือเล่มนี้ อันนี้ต้องอนุโมทนาสาธุการทุกท่านด้วย ที่ได้จัดสรรให้อาตมาภาพได้แต่เขียนตำราใช้สำหรับผู้ศึกษารุ่นต่อไป”

     “สิ่งที่เราวาดฝันไว้จากวันแรก มาถึงวันนี้สำเร็จเป็นรูปธรรม และเชื่อเหลือเกินว่าปราสาทแห่งพุทธศิลปกรรมจะงดงาม ถ้าเราได้ใช้เวลาขัดเกลาได้มากกว่านี้ ในรุ่นต่อ ๆ ไป” พระเมธีวชิโรดม กล่าว

.

    ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ในโอกาสนี้นอกจากจะกล่าวแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว อยากจะขอกล่าวแสดงความชื่นชมยินดีให้กับคณะผู้ก่อตั้งหลักสูตร ทั้งเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระเมธีวชิโรดม อาจารย์เฉลิมชัย รวมทั้งตนเองด้วย

     “หลักสูตรนี้นับเป็นความฝันจากหลายปีที่แล้วของพวกเราทุกคนได้เป็นจริงขึ้นมา ด้วยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ ความตั้งใจของทุกท่านที่จะทำให้พุทธศิลปกรรมของประเทศชาติ ความฝันในวันนั้นเป็นความฝันที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เริ่มจากพูดคุยไม่กี่คน และเมื่อเรื่องดี ๆ ได้ถูกแจ้งเข้าไปยังฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล่าศิลปินในจังหวัดเชียงราย หรือผู้ที่สนใจงานศิลปะของชาติ ทุกคนก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี การได้รับการสนับสนุนในครั้งนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของความร่วมมือร่วมใจที่จะทำให้แก่บ้านเมืองอย่างแท้จริง”

    “ขอกราบเรียนว่าถ้าหากว่าไม่มีคนริเริ่ม ก็คงไม่ได้เกิดสนับสนุน ก็คงเดินไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดแล้ว มหาวิทยาลัยก็สานต่อ ทำให้โครงการบรรลุประสบความสำเร็จ ท่ามกลางทรัพยากรที่อาจจะไม่ถึงกับมีมาก เริ่มจากศูนย์ และก็มีผู้เข้ามาบริจาค ไม่ว่าจะเป็นท่านอาจารย์เฉลิมชัย ตลอดจนท่านอื่นช่วยกัน ขอเรียนว่าหลักสูตรนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจสนับสนุนเต็มที่ เมื่อเดินไปแล้วสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีคือเราสามารถดำเนินการสอนคน ซึ่งเราตั้งใจว่าไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาชั้นใด เพียงแต่มีความฝันความอยากที่จะเป็นศิลปินทางด้านพุทธศิลป์ และอยากจะมาเรียนกับเรา”

    “จากปีที่เราฝัน แล้วเราทำวันนี้เกิดผลสำเร็จสามารถจับต้องได้ นั่นก็คือผู้จบหลักสูตร รวมทั้งะสามารถนำเอาผลงานไปจัดแสดงในสถานที่ซึ่งมีเกียรติและมีคนสนใจจากทั่วประเทศ ทำให้ผู้คนได้รับรู้ และสามารถขายได้ด้วย การขายได้มันตรงกับหลักการที่ว่าถ้าเราทำของแล้วมีคุณค่า มีคนสนใจอยากจะได้ เมื่อเขาจ่ายซื้อสิ่งเหล่านี้มันก็ตอบแทนมาเป็นกำลังใจให้กับศิลปินทั้งหลายได้สร้างผลงานดี ๆ อีกต่อไป แสดงให้เห้นถึงความรู้ที่อยู่ในตัวของท่านทั้งหลายที่มาจากการกล่อมเกลาของอาจารย์ทั้งหลายได้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างชัดเจน”

    “ผมเชื่อว่า ถ้าจะให้กล่าวแสดงความยินดี ก็ต้องกล่าวความแสดงยินดีกับท่านผู้สนับสนุนทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น และแสดงความยินดีกับท่านที่ตั้งใจที่จะมาศึกษาเล่าเรียน ทั้ง ๆ ที่เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่แน่ใจว่ามาเจออาจารย์เฉลิมชัยเราจะทนได้หรือไม่ ไม่แน่ใจว่ามาเจออาจารย์คนนั้นคนนี้แล้วจะเป็นยังไง เพราะว่าแต่ละคนนั้นส่วนใหญ่เข้ามาเรียนแบบไม่มีพื้นฐาน เราเอามาทำให้มีความรู้ ให้มีคุณค่า วันนี้จึงขอชื่นชมยินดีกับผู้ที่ให้การสนับสนุนที่ได้เห็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้น  ในขณะเดียวกันผู้ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนนั้น ก็อยากกล่าวว่าพวกเราทั้งหลายในฐานะผู้ก่อตั้งนั้น เราขอแสดงความยินดีกับทุกท่านด้วยความจริงใจ ว่าท่านใช้ความอุตสาหะ ทำให้ฝันของท่านเป็นจริง ทำให้ฝันของพวกเราเป็นจริง ทำให้บ้านเมืองแห่งนี้มีแสงสว่าง ที่จะสืบทอดงานพุทธศิลปกรรมของบ้านเมืองแห่งนี้ต่อไป” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ กล่าว

.

    ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) กล่าวแสดงความยินดีว่า อยากฝากถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่ได้ประกาศนียบัตรวันนี้วันนี้ ถือเป็นวันที่เราได้รับความภาคภูมิใจ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดพิธีที่งดงามให้

    “กราบขอบพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่ทรงเมตตาได้มาเป็นประธานมอบประกาศนียบัตร เป็นเกียรติสูงสุดกับประกาศนียบัตรที่ทรงคุณค่า ฝากพวกเราพี่น้องทุกคนที่เรียนจบ จงทำหน้าที่ของรุ่นแรกให้ดีที่สุด ในการเป็นผู้สร้างหลักสูตรพุทธศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เราต้องรักษาคุณงามความดีในการที่เราเป็นรุ่นแรก เป็นมืออาชีพแล้ว จงขยันหมั่นเพียรและทำหน้าที่ให้ตัวเองให้มีชื่อเสียง เพราะการมีชื่อเสียงก็คือทำให้รุ่นต่อ ๆ ไปของพวกเรามีหน้ามีตา มหาวิทยาลัยก็มีหน้ามีตา เพราะมหาวิทยาลัยทุ่มเทกับเรา เราก็ควรที่จะคืนให้แก่มหาวิทยาลัย ความตั้งใจดีของเราทำให้เรามีชื่อเสียง ความมีคุณภาพของเราจะสร้างให้เรามีชื่อเสียง เกียรติภูมินั้นก็จะกลับมาที่มหาวิทยาลัย ให้แก่ผู้ที่สนับสนุนอุปถัมภ์ ดังเช่น เจ้าประคุณสมเด็จฯ อธิการบดีผู้ก่อตั้ง อาจารย์วันชัย และท่านอธิการบดีที่ดูแลเรามาตลอด ให้ความรักให้การสนับสนุนติดตามผลงานเราให้กำลังใจเรามาตลอด จนพวกเราสำเร็จการศึกษาในวันนี้”

     “สิ่งที่ปรารถนามากที่สุด คืออยากให้มีพระมาเรียนให้เยอะที่สุด อย่างน้อยอยากให้มาเรียนในระดับที่ 1 ได้มาเรียนรู้เรื่องทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ องค์ประกอบศิลป์ งานพุทธศิลป์ งานปรัชญาทุกด้าน ซึ่งจะได้กลับไปดูแลวัดวาอารามของเรา ส่วนระดับที่ 2 ระดับที่ 3 จะเป็นมืออาชีพ จะมีพระหรือฆราวาสก็ไม่เป็นไร ถือเป็นความสำเร็จของหลักสูตรเราในการได้สร้างศิลปิน” ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กล่าว

 

 

 

  • 1538 ครั้ง