เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
เมื่อวันที่ 2 มีคาคม 2566 สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ “การเสริมสร้างความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ กรณีศึกษา พื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิง” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย มฟล. พร้อมด้วย Dr. Gemma Edger ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย และ Mr. Daovone Phonemanichane ผู้แทนจากองค์กร OXFAM ร่วมกล่าวเปิดงาน ณ ห้องประชุมประดู่แดง 1 อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานชลประทาน สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา
รศ.ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดี มฟล. กล่าวว่า การปล่อยมลพิษทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โลกของเรากําลังเผชิญกับความท้าทายด้านสภาพอากาศที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นักวิทยาศาสตร์เตือนเราว่าเรากำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนที่อันตราย ซึ่งความโกลาหลของสภาพอากาศอาจเปลี่ยนกลับไม่ได้ และในปี 2565 ประเทศไทยและออสเตรเลียต้องรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทําให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในฤดูฝน ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ประสบกับฤดูร้อนที่แห้งแล้งที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัจจัยสําคัญในการเพิ่มความเสี่ยงไฟป่าในภาคเหนือของประเทศไทย เราประสบปัญหาร่วมกันซึ่งต้องใช้ความพยายามร่วมกัน จากรายงานดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโลกปี 2559 ที่จัดทําโดย German Watch ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่9 จาก 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วระหว่างปี 2538 ถึง 2557
“ในฐานะมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้เรามีหน้าที่ในการพูดคุย และร่วมกันก่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ในนาม มฟล. ดิฉันขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อรัฐบาลออสเตรเลียที่สนับสนุนโครงการที่มีความหมายนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นของสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นบนลุ่มแม่น้ำอิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งเน้นไปที่ผู้หญิง ความพิการ และกลุ่มเปราะบาง มฟล.สัญญาว่าเราจะพยายามระดมทรัพยากรทั้งหมดที่มีเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ร่วมกัน” รองอธิการบดี มฟล. กล่าว
จากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “เกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ” จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย และหัวข้อ “Improving Community Resilience, A Perspective from A Social Scientist” จาก ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีกทั้งมีการนำเสนอโครงการจากคณะนักวิจัย พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการ จากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดย