เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
วันนี้ (23 กันยายน 2564) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ ผู้ช่วยอธิการบดีและหัวหน้าศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการกำจัดขยะของเสียอันตราย ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.เชียงราย) โดยในปีนี้ทาง อบจ.ได้รวบรวมขยะอันตรายทั้ง 5 ประเภท หลอดไฟ แบตเตอรี่ กระป๋องสปรย์อัดแก๊ส ภาชนะบรรจุสารเคมีอื่นๆ และอิเล็กทรอนิกส์ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดเชียงราย 143 แห่งผ่านระบบ D-ToC ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัย CEWT มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ทั้งสิ้น 39.69 ตัน ขยะอันตรายที่ อปท. รวบรวมมาส่ง อบจ.เชียงรายจะถูกขนส่งไปกำจัดอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาระบบ D-ToC ได้ช่วยให้จังหวัดเชียงรายสามารถจัดการขยะอันตรายจากชุมชนได้ 232 ตัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2560-2563
ลำดับ | ประเภทขยะ | น้ำหนักขยะ(กิโลกรัม) | ร้อยละ |
1 | หลอดไฟ | 18,578 | 46.8 |
2 | แบตเตอรี่ | 4,358 | 11.0 |
3 | กระป๋องสเปรย์อัดแก๊ส | 3,217 | 8.1 |
4 | ภาชนะบรรจุสารเคมีอื่นๆ | 11,625 | 29.3 |
5 | อิเล็กทรอนิกส์ | 1,913 | 4.8 |
รวม | 39,691 | 100.0 |