เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

มฟล. สานต่อโครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์เด็กเล็กปลอดฝุ่น PM 2.5

หมวดหมู่ข่าว: SDG03 SDG11 SDG13 ข่าวเด่น

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ผศ. ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) รักษาการแทนหัวหน้าศูนย์ศึกษา วิจัยและปฎิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่าหมอกควันในประเทศไทย และในภูมิภาค, ผศ. ดร.สยาม ภพลือชัย ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อาจารย์ ดร.สุรพล วรภัทราทร สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะ ร่วมพิธีเปิดและส่งมอบโครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์เด็กเล็กปลอดฝุ่น PM 2.5 ให้กับชุมชน โดยมี นายสมศักดิ์ ศรีบุรี นายกเทศมนตรีตำบลท่าสุด พร้อมผู้แทนจากเทศบาลตำบลท่าสุด เป็นผู้รับมอบ 
.
ทั้งนี้ มฟล.นำทีมจากศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำห้องปลอดฝุ่นให้แก่กลุ่มเสี่ยงเด็กเล็กอนุบาลเพื่อประยุกต์และถ่ายทอดองค์ความรู้ทำอุปกรณ์ดักจับฝุ่นต้นแบบอย่างง่ายสู่ระดับชุมชน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย โดยได้ทำการส่งมอบอุปกรณ์ฟอกอากาศให้กับศูนย์เด็กเล็ก ต.ท่าสุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ต่อมาในช่วงเดือนมีนาคม –  มิถุนายนนี้ 2564 ได้เข้าทำการปรับให้ห้องปลอดฝุ่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งการการปิดช่องอากาศเพื่อป้องกันฝุ่น ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ รวมถึงจัดทำโปสเตอร์เพื่อสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 ทั้งผลกระทบและวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย พร้อมทำการส่งมอบให้กับชุมชน
.
มฟล.จัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบศูนย์เด็กเล็กปลอดฝุ่น PM 2.5 ขึ้นเนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศ ได้แก่ หมอกควัน ฝุ่นขนาดเล็ก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งนี้เด็กเล็กถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด ร่วมทั้งการจัดพื้นที่ให้มีความปลอดภัยและควบคุมพื้นที่ให้มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจากปัญหาหมอกควันสำหรับครูและประชาชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาต้นแบบศูนย์เด็กเล็กปลอดฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้หน่วยงานหรือชุมชนได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้เพื่อรับมือปัญหาหมอกควันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 
 

  • 2173 ครั้ง