เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Technology and Sustainable Environmental Management

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน)
ชื่อย่อ : วท.ม. (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Technology and Sustainable Environmental Management)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Technology and Sustainable Environmental Management)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงได้พัฒนาหลักสูตรฯ นี้ขึ้นเพื่อเติมเต็มความต้องการด้านบุคลากรที่มีศักยภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับสากล บนพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม Reconstructionism ซึ่งมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้กับโมเดลเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG) ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและนานาชาติให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Project based กระบวนการวิจัยและนวัตกรรมควบคู่คุณธรรมจริยธรรมในบริบทของการพัฒนาระดับชุมชนสู่สากลเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถสูงในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ในการขับเคลื่อนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบองค์รวม 
  2. มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีและสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนวิจัยหรือนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
  3. มีจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 
  4. มีจิตสำนึกและสามารถสื่อสารทัศนคติเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม (Green talent) 

 

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรแนวใหม่ที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนจากหลากหลายศาสตร์ได้ใช้ศาสตร์ของการวิเคราะห์มาบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีความยืดหยุ่นโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในรายวิชาที่สนใจได้มากขึ้น และได้เลือกเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเริ่มต้นจากโจทย์วิจัยที่ต้องการคำตอบแล้วเลือกเพิ่มพูนความรู้จากสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร และได้นวัตกรรมด้านสุขภาพและสารสนเทศสุขภาพ

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  1. นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมควบคุมมลพิษ สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  2. ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
  3. นักวิชาการหรือผู้บริหารในตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
  4. นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  5. นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานต่างประเทศ เช่น United States Environmental Protection Agency (US. EPA), World Health Organization (WHO), Centers for Disease Control and Prevention (CDC), United Nations (UN) เป็นต้น

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 พัฒนาเทคโนโลยีและการบริหารจัดการอย่างยังยืนเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG
    • Sub-PLOs 1.1 อธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางพื้นฐานโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG 
    • Sub-PLOs 1.2 ประยุกต์ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการอย่างยังยืน
    • Sub-PLOs 1.3 เลือกใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    • Sub-PLOs 1.4 ประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของการดำเนินโครงการ
    • Sub-PLOs 1.5 พัฒนาเทคโนโลยีและการบริหารจัดการอย่างยังยืนเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบBCG
  • PLO2 สร้างและเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชาติ
    • Sub-PLOs 2.1 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรม
    • Sub-PLOs 2.2 สังเคราะห์งานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้โมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG
    • Sub-PLOs 2.3 สร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • PLO3 ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมการทำวิจัย
  • PLO4 เแสดงออกถึงการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและสังคมโลก
    • Sub-PLOs 4.1 สร้างแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (BCG adapter) ต่อชุมชนและสังคมโลก
    • Sub-PLOs 4.2 แสดงออกถึงการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการอนุรักษ์และพื้นฟูสิ่งแวดล้อม (BCG adapter) ต่อชุมชนและสังคมโลก

 

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   160,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  40,000 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    4. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
แผน 2 แบบวิชาชีพ  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    4. หมวดการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 27 พ.ย. 66