หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ

ปริญญาโท สำนักวิชานวัตกรรมสังคม

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ: Master of Arts Program in International Development

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Arts Program (International Development)
ชื่อย่อ : M.A. (International Development)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร ผลิตมหาบัณฑิตเพื่อเป็นนักสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีมุมมองการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาที่ไม่ได้เน้นเพียงรัฐเป็นศูนย์กลางเท่านั้น  แต่ให้ประชาชน หรือ มนุษย์เป็นศูนย์กลางร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ  ของสังคม ในระดับต่าง ๆ  เพื่อการพัฒนาภายในประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงสามารถทบทวนและเปลี่ยนแปลงการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมที่นำมาสู่ความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ในระดับชุมชน สังคม ประเทศ ภูมิภาค และโลก โดยนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรมาออกแบบนวัตกรรมสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงทางมนุษย์และความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Social Re-constructivism: Human Security and Partnership for International Development)  

ทั้งนี้หลักสูตรได้กำหนดแนวทางการเรียนการสอนให้เป็นทั้งการสร้างความรู้และปัญญาโดยผู้เรียน (Constructivism) ผ่านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการเรียนรู้ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่าย (Connectivism) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการเชื่อมโยงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-Based Learning) การจัดทำโครงการ (Project Based Learning) และการมอบหมายงานที่พัฒนาผู้เรียนโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area-Based) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้รับมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ อันจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่โดยกระบวนการวิจัย (Research-Based Learning)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความรู้ด้านความมั่นคงทางมนุษย์และความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ 
  2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความไม่มั่นคงของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียได้
  3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาในการรับมือ จัดการและแก้ไขความไม่มั่นคงของมนุษย์ โดยใช้ แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แนวคิดเป้าหมายการพัฒนา      ที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของหน่วยงานอื่น ๆภายในประเทศ ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียได้

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

  1. อาจารย์ นักวิชาการ หรือ นักวิจัย ทางด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาระหว่างประเทศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หรือ หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. องค์กรภาครัฐทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (Governmental Agencies)  เช่น ข้าราชการ       พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
  3. องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (International non-governmental organizations: INGOs) and (Non-governmental organizations: NGOs) เช่น ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ และพนักงานองค์กร เป็นต้น
  4. องค์กรภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (Private Sectors)  เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)  กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) เป็นต้น
  5. ผู้ประกอบการเพื่อสังคม เข่น วิสาหกิจเพื่อสังคม ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เป็นต้น

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1  สังเคราะห์หลักการ แนวคิด และทฤษฎีด้านความมั่นคงทางมนุษย์กับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ 
    • Sub-PLO1.1 วิเคราะห์ เปรียบเทียบ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีด้านความมั่นคงทางมนุษย์และความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
    • Sub-PLO1.2 สังเคราะห์ เปรียบเทียบ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีด้านความมั่นคงทางมนุษย์และความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • PLO2 ออกแบบงานวิจัยที่สร้างข้อเสนอแนะทางวิชาการใหม่ในมิติความมั่นคงทางมนุษย์กับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ 
  • PLO3 แสดงออกถึงการมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองและการปรับตัวในการทำงานภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม 
  • PLO4 แสดงออกถึงความรับผิดชอบในมิติความมั่นคงทางมนุษย์และความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ในฐานะนักสร้างการเปลี่ยนแปลง 
  • PLO5 แสดงออกถึงการเป็นนักสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ความมั่นคงทางมนุษย์ (ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง: Changemakers) ด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ผ่านกระบวนการวิจัย 

***(นักสร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ออกแบบ/การเสนอต้นแบบ/กระบวนการ/รูปแบบการจัดการและพัฒนา/ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาแก่สังคมระดับต่าง ๆ ผ่านการวิจัยที่มีความสัมพันธ์กันในระดับชุมชน จังหวัด ประเทศและภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านความมั่นคงทางมนุษย์ด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Competency - knowledge, skills and attitudes)

 

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 320,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 80,000 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน 1  แบบวิชาการ  แผน 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน     ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ   พ.ศ. 2566

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 27 พ.ย. 66