ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Computational Science |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการเชิงคำนวณ) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (วิทยาการเชิงคำนวณ) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Computational Science) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Bioscience) |
ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณและข้อมูลเป็นสหวิทยาการที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านการคำนวณ อาทิ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลของศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การพยากรณ์ สร้างรูปแบบและแบบแผนที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านที่ต้องการประยุกต์ใช้ เช่น การเกษตร ธุรกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
หลักสูตรวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูลมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกระบวนการคิด (cognitive) และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากศาสตร์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นแบบจำลองหรือรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในเชิงวิจัยด้านวิทยาการเชิงคำนวณและข้อมูล ยึดมั่นในจรรยาบรรณ มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีทัศนะคติเชิงบวก มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และทำงานในสังคมที่หลากหลาย มีความสามารถในการพัฒนาแบบจำลองโดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรได้พัฒนาปรับปรุงตามแนวทางแบบการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยยึดโยงกับความต้องการของผู้ใช้หลักสูตร ในหลักสูตรนี้จึงเน้นให้นักศึกษามีทักษะการคิดวิเคราะห์และสามารถนำเสนอในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้ภาพในการสื่อสารให้เข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ และนักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยจากแหล่งสถาบันฝึกอบรมและบริษัทระดับโลกเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้การทำงานจริง
จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
แผน ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเชิงคำนวณ พ.ศ. 2564