เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Biological Science

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Science (Biological Science)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Biological Science)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นศาสตร์แห่งชีวิต ที่มีขอบเขตอันกว้างใหญ่และมีความความหลากหลาย  ดังนั้นความเข้าใจระดับของสิ่งมีชีวิตที่รวมตั้งแต่ระดับเซลล์จนกระทั่งระบบนิเวศ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการศึกษาและพัฒนาทั้งความรู้พื้นฐานและประยุกต์ ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการดำรงชีวิตและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ  รวมทั้งความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้เชิงลึก สามารถนำไปต่อยอดทั้งงานวิจัยหรือเป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

หลักสูตรนี้จึงนำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน ได้แก่ ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบ พัฒนา และจัดการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ทางชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงการพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ สรรสร้าง ตลอดจนการนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยและ/หรือสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ในเชิงวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ องค์ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ มีความคิดริเริ่มและสามารถแสวงหาความรู้เพื่อทำงานวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการและมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์สร้างเป็นนวัตกรรมต่อยอดและสร้างประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพได้อย่างคุ้มค่า เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรม

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิจัย พนักงานวิทยาศาสตร์ หรือผู้ช่วยวิจัย ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางด้านการเกษตร อาหารและยา
  2. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ หรือ เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Product specialist)
  4. ผู้ประกอบการอิสระ 
  5. Startup ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  6. ที่ปรึกษาบริษัท

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐานและจริยธรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • PLO2 เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี ชีวภาพ และกฎหมายชีวภาพเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรืองานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • PLO3 บูรณาการความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และมีทักษะในการแก้ปัญหาวิจัยแบบสหวิทยาการ 
  • PLO4 ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพในรูปแบบพหุวัฒนธรรม/ทีมในการทำงานพร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
  • PLO5 เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล สามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ
  • PLO6 สร้างสรรค์พัฒนาผลงานทางวิชาการ ผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการทางชีวภาพ หรือนวัตกรรมทางชีวภาพ

 

ค่าธรรมเนียม

จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน ก แบบ ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ พ.ศ. 2560