เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการแปลงเป็นดิจิทัล |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Digital Transformation Technology |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการแปลงเป็นดิจิทัล) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (เทคโนโลยีการแปลงเป็นดิจิทัล) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Digital Transformation Technology) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Digital Transformation Technology) |
ปรัชญาของหลักสูตร
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รูปแบบธุรกิจ และนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เร่งให้เกิดการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะบริการข้อมูลและทำธุรกรรมต่าง ๆผ่านระบบออนไลน์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยให้สามารถแข่งขันได้ Digital Transformation Technology เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องมือ หรือระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบและสร้างกระบวนการเพื่อแปลงสู่ดิจิทัล ด้วยการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการหรือข้อมูล รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือทั้งซอฟต์แวร์และรูปแบบการสื่อสาร บุคคลากรที่จะไปปฏิบัติงานเพื่อแข่งขันทางธุรกิจดิจิทัล จึงจำเป็นต้องมี ทักษะเฉพาะดังกล่าว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งจะเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต่อการใช้รับมือกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
หลักสูตรนี้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ปรัชญา Pragmatism โดยเน้น ทฤษฎี Re-Constructivist มาเป็นกรอบนำทางในการจัดการศึกษาของหลักสูตร โดยเชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือ เรียกว่า โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) และใช้สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในบริบทดิจิทัล โดยเน้นการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) และวิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning) ซึ่งให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์จริง ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของผู้สอนและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในการวิจัยและประยุกต์เทคโนโลยีด้านการแปลงทางดิจิทัล ยึดมั่นหลักจริยธรรมวิจัยและหลักความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีความสามารถในการสร้างหรือพัฒนากระบวนการแปลงเป็นดิจิทัลผ่านกระบวนการวิจัย โดยเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในด้านการจัดการกระบวนการทางดิจิทัล (Digital Process Management) หรือด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และทำงานร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการและธุรกิจในระดับชาติและระดับสากลได้
เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านการเรียนรู้จากการทำวิจัยและพัฒนาโครงงานที่สอดแทรกความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้กลยุทธการขับเคลื่อนองค์กรด้วยกระบวนการหรือข้อมูล มีความรู้ด้านธุรกิจดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์
มหาบัณฑิตด้านเทคโนโลยีการแปลงเป็นดิจิทัล สามารถเป็นผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งต่างๆดังนี้
แผน ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
แผน ก2 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิทยานิพนธ์ | 18 หน่วยกิต | ||
แผน ข | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 18 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเลือก | 12 หน่วยกิต | ||
3. หมวดการค้นคว้าอิสระ | 6 หน่วยกิต | ||
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรแบบ ก1:
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือ เทียบเท่า กรณีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 3.00 แต่ไม่น้อยกว่า 2.50 จะต้องแสดงผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
หลักสูตรแบบ ก2:
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สาขาวิชาด้านธุรกิจ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ เทียบเท่า กรณีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 2.50 จะต้องแสดงผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
หลักสูตรแบบ ข:
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สาขาวิชาด้านธุรกิจ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติอื่น ๆ ของผู้เข้าศึกษา
ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560
อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลงเป็นดิจิทัล พ.ศ. 2565
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 31 พ.ค. 65