เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปริญญาโท สำนักวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ: Master of Engineering Program in Computer Engineering

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ : วศ.ม. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Engineering (Computer Engineering)
ชื่อย่อ : M.Eng. (Computer Engineering)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่อง หรือระบบคอมพิวเตอร์และระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และการสื่อสาร มีบทบาทสำคัญในการปฎิรูปอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันและยังเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่จำเป็นต่อการใช้รับมือกับภาวะพลิกผันต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ในปัจจุบันและอนาคต การคิดค้นทฤษฎีใหม่และนวัตกรรมทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ยังคงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศาสตร์นี้ หลักสูตรนี้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivist Theory) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ทำการผสมผสานแนวคิดแบบคอนสตรัค
ติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism) และคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social constructivism) 
เข้าด้วยกัน โดยเชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือ เรียกว่า โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) และใช้สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งเหล่านั้น ส่งผลให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาขึ้นมาในที่สุด การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ 
การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)  จึงถูกนำมาใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน  โดยเน้นให้ผู้เรียน เผชิญกับสถานการณ์จริง ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของผู้สอนและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นี้ จึงมีความมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ในศาสตร์ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะในการแข่งขัน มีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะพลิกผัน สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ชี้นำภาคธุรกิจ และตอบสนองต่อภาวะพลิกผัน 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในเชิงวิจัยด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และสารสนเทศ ยึดมั่นในจรรยาบรรณ มีทักษะศตวรรตที่ 21 มีทัศนคติเชิงบวกต่อภาวะพลิกผัน มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ภาวะพลิกผันต่างๆ สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำงานร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

  1. นักวิชาการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และสารสนเทศ
  2. นักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และสารสนเทศ
  3. วิศวกรและที่ปรึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และสารสนเทศ
  4. ผู้ประกอบการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และสารสนเทศ

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1: ซื่อสัตย์ ปฎิบัติตามหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐานและจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม
  • PLO2: อภิปรายเชื่อมโยงสาระที่สำคัญของเทคโนโลยีพลิกผันด้าน Edge Computing, Ubiquitous Artificial Intelligence และ Modern Communication Platform กับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
  • PLO3: วิเคราะห์ศักยภาพ คัดเลือก และบูรณาการความรู้เทคโนโลยีพลิกผัน ด้าน Edge Computing, Ubiquitous Artificial Intelligence และ Modern Communication Platform ร่วมกับศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบงานวิจัยและนวัตกรรม
  • PLO4: ตระหนักเกี่ยวกับโลก มีทัศนคติเชิงบวกต่อภาวะพลิกผัน มีความคิดริเริ่ม พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจากภาวะพลิกผัน
  • PLO5: คัดเลือก วิธีการนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ สถิติ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิจัย
  • PLO6: มีความสามารถในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมต้นแบบ โดยการบูรณาการทักษะการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และระบบสื่อสารข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีพลิกผัน เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมชี้นำภาคธุรกิจและตอบสนองต่อภาวะพลิกผัน

 

ค่าธรรมเนียม

  • แผน ก1 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   140,000   บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  35,000  บาท
  • แผน ก2 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   160,000   บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  40,000  บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

 

ข้อมูลอ้างอิง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2563