หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biological Sciences

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Biological Sciences)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Biological Sciences)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
ความรู้เชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้จากทรัพยากรชีวภาพที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจซึ่งสนองต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

หลักสูตรได้พัฒนาและออกแบบการเรียนการสอนโดยการนำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ คอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism) โดยนำกระบวนการการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้สามารถเกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือความรู้ใหม่ๆ มาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม สร้างเป็นความเข้าใจของตนเองหรือโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) และนำไปสู่การสร้างความรู้ การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของอาจารย์ผู้สอน และผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม (Social Constructivism) ร่วมกัน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความสามารถ และศักยภาพในการวิจัย พัฒนา และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาประเทศ

อีกทั้งหลักสูตรมุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวิจัยเชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลตลอดจนสามารถเชื่อมโยงและบริหารจัดการความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกด้านงานวิจัยและผลิตผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในงานวิจัยเพื่อต่อยอดและ/หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สร้างองค์ความรู้ใหม่/แก้ไขปัญหา/ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัย มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ เคารพกติกาของสังคม มีจิตสำนึกและมุ่งทำประโยชน์ต่อสังคม

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. อาจารย์ระดับอุดมศึกษา หรือ ระดับมัธยมศึกษา
  2. นักวิจัย นักวิชาการ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรต่างประเทศ
  3. ผู้ประกอบการอิสระ ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO 1: มีความซื่อสัตย์ปฏิบัติตามจรรยาบรรณด้านการวิจัย ความปลอดภัยทางชีวภาพหรือจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ในกระบวนการทำวิจัย
  • PLO 2: เชื่อมโยงความรู้เชิงลึกในเนื้อหาวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • PLO 3: มีทักษะในการวางแผนและแก้ปัญหางานวิจัยแบบสหวิทยาการ เพื่อสร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • PLO 4: ทำงานร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบพหุวัฒนธรรม มีภาวะผู้นำ รับผิดชอบต่องานของตนเองและงานที่ได้รับมอบหมาย
  • PLO 5: เลือกใช้สถิติขั้นสูงที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาตร์ชีวภาพ และสามารถนำเสนอข้อมูลวิชาการในระดับนานาชาติโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย 
  • PLO 6: ผลิตผลงานวิชาการระดับนานาชาติหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

 

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียม  (แบบที่ 1.1) จำนวน  6  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   210,000    บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  35,000   บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาสัมมนา ไม่นับหน่วยกิต
    3. หมวดรายวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 10 ส.ค. 65