หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์

ปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Applied Chemistry

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมีประยุกต์)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เคมีประยุกต์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Applied Chemistry)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Applied Chemistry)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
เคมีประยุกต์เป็นสหวิทยาการโดยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเคมีในสาขาต่างๆร่วมกับศาสตร์อื่นๆได้แก่ พืชศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ชีววิทยา การแพทย์ปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก วิทยาศาสตร์การแพทย์ วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การอาหารและการเกษตร เพื่อรวมเป็นศาสตร์ทางเคมีประยุกต์สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ตลอดทั้งนำพาสังคมไทยไปสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนากำลังคนทางด้านเคมีประยุกต์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางเคมีประยุกต์จำเป็นต้องอาศัยกำลังคนที่มีความรู้ ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ระดับสูง ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์อื่นๆเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมได้ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาเคมีประยุกต์ จึงมุ่งสร้างให้บัณฑิตเป็นผู้มีความสามารถสูงในการสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์ หรือเคมีพอลิเมอร์ ในระดับสากลได้ สามารถประยุกต์ความรู้กับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมได้ สามารถถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณะได้ รวมทั้งรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วย สติ ปัญญาและความสามารถ มีทักษะการเป็นผู้นำทางวิชาการ และสามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับนานาชาติได้ ตลอดทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม และสามารถเลือกใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้รอบด้านอย่างเหมาะสม 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยการบูรณาการและประยุกต์องค์ความรู้ด้านเคมีร่วมกับศาสตร์อื่นเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ที่มีคุณภาพในระดับสากลและกอปรด้วยการมีจิตยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตลอดทั้งมีทักษะการเป็นผู้นำทางวิชาการและสามารถถ่ายทอดความรู้และสื่อสารกับสังคมได้

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเคมีประยุกต์ มุ่งสร้างให้บัณฑิตเป็นผู้มีความสามารถสูงในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ สามารถบูรณาการและถ่ายทอดความรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม โดยสามารถประยุกต์ความรู้กับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องและสามารถดำเนินการวิจัยเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ในระดับมาตรฐานสากลได้ รวมทั้งรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วยสติ ปัญญาและความสามารถ มีทักษะการเป็นผู้นำทางวิชาการ มีบุคลิกภาพที่ดีและสามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับนานาชาติได้ดี ตลอดทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม และสามารถเลือกใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างรอบด้าน บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

  1. อาจารย์ประจำสาขาเคมีหรือเคมีประยุกต์เฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน 
  2. นักวิจัยด้านเคมีและเคมีประยุกต์เฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ในสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) องค์การเภสัชกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 
  3. นักวิจัยด้านเคมีและเคมีประยุกต์เฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ในสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 
  4. นวัตกรเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ประจำบริษัทเอกชน 
  5. ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีหรือเคมีประยุกต์เฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
  6. ทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เคมีทางยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อาหาร การเกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และเวชสำอาง

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 แสดงออกซึ่งการมีจรรยาบรรณในการวิจัย
  • PLO2 สามารถประมวลองค์ความรู้ขั้นสูง เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง และกระบวนการวิจัยเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์ หรือเคมีพอลิเมอร์ เพื่อประยุกต์ร่วมกับศาสตร์อื่นๆได้
  • PLO3 สามารถออกแบบงานวิจัยได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการทำงานวิจัย การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง และการประมวลผลทางเคมีได้อย่างเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเฉพาะทาง ด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เคมีวิเคราะห์หรือเคมีพอลิเมอร์ ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ     
  • PLO4 มีความคิดริเริ่ม วางแผนและตัดสินใจแก้ปัญหาได้ กล้าแสดงความคิดเชิงวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้ และแสดงออกถึงทักษะความเป็นผู้นำทางวิชาการ 
  • PLO5 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางด้านเคมีได้ และสามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับนานาชาติได้

 

ค่าธรรมเนียม

  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบ 1.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 210,000 .- บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 .- บาท
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (แบบที่ 1.2 และ 2.2) จำนวน 8 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 280,000 .- บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 .- บาท 

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท) 48 หน่วยกิต  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
       
แบบ 1.2 (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี) 72 หน่วยกิต  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต (หลักสูตร 5 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 72 หน่วยกิต
       
       
แบบ 2.2 (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี) 72 หน่วยกิต  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต (หลักสูตร 5 ปี)
    1. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
    3. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาเคมีประยุกต์  พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 10 ส.ค. 65