หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

ปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Public Health

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Public Health)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Public Health)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตรการสาธารณสุขเป็นเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมภัยสุขภาพ การแก้ไขปัญหาสุขภาพและระบบสุขภาพที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยตลอดทั้งภูมิหลังประชากร นั้นจำป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรอบรู้ศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจบริบทเฉพาะของกลุ่มประชากรจึงจะนำมาซึ่งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ทางด้านระบาดวิทยาอย่างเหมาะสมและสามารถพัฒนาระบบ กลไกนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมวัฒนธรรมที่ดีในอนาคต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอกระบาดวิทยา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตทางด้านระบาดวิทยาให้มีทักษะขั้นสูงทั้งการวิจัยและการป้องกันและควบคุมภัยคุกคามสุขภาพ โดยผ่านการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีขั้นสูงจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับโลก การฝึกปฎิบัติงานภาคสนามกับเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในกระทรวงสาธารณสุขและการทำดุษฎีนิพนธ์ที่สามารถแสดงศักยภาพในการพัฒนารูปแบบ กลไกหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมภัยคุกคามสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง (Costructivism) โดยผ่านการเรียนรู้จากสภาพสังคมกลุ่มประชากรเปราะบางที่มีความแตกต่าง ทางด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยตลอดทั้งภูมิหลังประชากร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสาระอย่างลึกซึ้งและเสริมสร้างทักษะปฎิสัมพันธ์และภาวะผู้นำจากการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ มีทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเองตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตนักระบาดวิทยาที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่มีความรู้และประสบการณ์การป้องกันและควบคุมภัยสุขภาพในสถานการณ์จริง ตลอดจนมีศักยภาพในการทำวิจัยขั้นสูงเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาคิดค้นระบบ กลไกหรือนวัตกรรมที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมภัยคุกคามสุขภาพในกลุ่มประชากรเปราะบางและซับซ้อนที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยตลอดทั้งภูมิหลังประชากร ที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนานโยบายสุขภาพ

 

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนบนบริบทของสังคมที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม สังคม ชุมชน ประชาชน ตลอดทั้งภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัย ซึ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามที่มีลักษณะเฉพาะ ทำให้บัณฑิตมีความเข้าใจใช้ศาสตร์ทางด้านระบาดวิทยาและศาสตร์ทางด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะสังคมและมนุษยศาสตร์ด้านสาธารณสุข เพื่อทำความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาภัยคุกคามสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะและทักษะพิสัยผ่าน Research-based และ Field epidemiology training-based

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

  1. นักระบาดวิทยาที่มีทักษะขั้นสูงในหน่วยงานในประเทศ ภาคประชาชน องค์การปกครองท้องถิ่นและนานาชาติ
  2. อาจารย์ นักวิชาการด้านระบาดวิทยาในมหาวิทยาลัย

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ มีวินัยและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม
  • PLO2 อภิปรายและเชื่อมโยงองค์ความรู้และศาสตร์ระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพในระดับต่าง ๆ กับระบาดวิทยาและการวิจัยขั้นสูง 
  • PLO3 ออกแบบระบบ กลไกหรือนวัตกรรมเพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมภัยคุกคามที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ซับซ้อน จากการบูรณาหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อมูลจากสถานการณ์จริง 
  • PLO4 แสดงออกภาวะผู้นำในบริหารจัดการในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • PLO5 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขโดยใช้ชีวสถิติขั้นสูง เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมทางด้านระบาดวิทยาและสามารถสื่อสารทางวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้
  • PLO6 ปฏิบัติการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมภัยคุกคามสุขภาพในกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพเปราะบางทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมได้    
  • PLO7 สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาระบบ กลไก หรือนวัตกรรมทางด้านระบาดวิทยาในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่ซับซ้อนโดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพเปราะบางทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการวิจัยขึ้นสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ และสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอการพัฒนานโยบายระดับประเทศ

 

ค่าธรรมเนียม

  • แบบที่ 1.1 และ แบบที่ 2.1  จำนวน  6  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   330,000    บาท
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  55,000   บา

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (2) ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาบังคับ (5) ไม่นับหน่วยกิต
    หมายเหตุ : ( … ) ตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนหน่วยกิตที่ให้นักศึกษาลงเรียนแต่ไม่นับเป็นหน่วยกิตสะสมของหลักสูตร   
       
แบบ 2.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (2)  ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
        รายวิชาบังคับ   (5)  ไม่นับหน่วยกิต
    4. หมวดวิชาเลือก 3   หน่วยกิต
    หมายเหตุ : ( … ) ตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนหน่วยกิตที่ให้นักศึกษาลงเรียนแต่ไม่นับเป็นหน่วยกิตสะสมของหลักสูตร   
       
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

(อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ พ.ศ. 2564) 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 ก.ย. 64