หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

ปริญญาเอก สำนักวิชาศิลปศาสตร์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in English for Professional Development

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (English for Professional Development)
ชื่อย่อ : Ph.D. (English for Professional Development)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดคอนสครัคติวิสต์เชิงสังคม (Social Constructivism)  ที่เชื่อว่าการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้สอน ตลอดจนการนำประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า บนพื้นฐานของความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพ ทั้งบริบทท้องถิ่นและบริบทโลกอย่างลึกซึ้ง หลักสูตรฉบับนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาของการพลิกผันทางสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)  ซึ่งทำให้รูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิม ไปเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่างๆ   ทำให้ต้องมีการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบ หลักการ และวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการและบริบทของผู้ใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่างๆ  นอกจากนี้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทในวิชาชีพต่างๆ มากขึ้น  การใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพมิได้จำกัดแต่เพียงการสื่อสารทั่วไปในองค์กรนานาชาติเท่านั้น หากยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาชีพผ่านสื่อภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางในการสื่อสาร  บุคลากรในวิชาชีพที่มีสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษสูง จึงมีโอกาสในการแข่งขันสูงเนื่องจากสามารถเผยแพร่ความรู้และนำองค์กรสู่นานาชาติได้  ความต้องการในการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเพื่อปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ จึงมีสูงขึ้น  

หลักสูตรนี้ จึงมุ่งสร้างผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณาการศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ บนพื้นฐานของทฤษฎีและงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และด้านภาษาอังกฤษ     โดยบัณฑิตจะต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการในสาขาภาษาอังกฤษ มีความยืนหยุ่นทางความคิด สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ตลอดจนสามารถบริหารจัดการและถ่ายทอดนวัตกรรมสู่สังคมได้เหมาะสมกับบริบท  

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษ
  2. มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับภาษาที่สอง การออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
  3. สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

 

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรทางการศึกษาด้านภาษาอังกฤษที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม แนวคิด หลักการ และการบูรณาการศาสตร์ภาษาอังกฤษเข้ากับศาสตร์สาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยกระดับสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษแก่บุคลากรในวิชาชีพการศึกษาและวิชาชีพอื่น ๆ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน เน้นการผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และรูปแบบการสื่อสารของประชาคมโลก นอกจากนี้ หลักสูตรยังให้ความสำคัญกับนโยบายและการจัดการหลักสูตรที่เน้นการสร้างรูปแบบการเรียนรู้และการสื่อสารในแบบที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในเรื่องพื้นที่และช่วงเวลาของการเรียนรู้ ตอบสนองต่อความต้องการ บริบทและรูปแบบการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและผู้ใช้ภาษาอังกฤษ 

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้สอนภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาทุกระดับ 
  2. นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาศาสตร์ประยุกต์
  3. นักออกแบบกิจกรรม นักสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาต่างๆ 
  4. ผู้บริหารหลักสูตร/โครงการการศึกษานานาชาติ
  5. ศึกษานิเทศก์สาขาภาษาอังกฤษ
  6. นักนโยบายและแผนด้านการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ (English Language Policy Makers)

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO 1   สามารถปฎิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อออกแบบสร้างสรรค์งานวิจัยและงานวิชาการด้านภาษาอังกฤษ
    • Sub PLO 1.1 วิเคราะห์และวิพากษ์สถานการณ์ สาเหตุและผลกระทบของปัญหาทางจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษและการออกแบบงานวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษและเสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา
    • Sub PLO 1.2 สร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น 
  • PLO 2   สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระเบียบวิธีวิจัยด้าน  มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • Sub PLO 2.1 สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด ทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ท้าทายต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมิทธิภาพและการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่าง ๆ 
    • Sub PLO 2.2 สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด หลักการและแนวทางในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
    • Sub PLO 2.3 สามารถและประเมินหลักการ ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
    • Sub PLO 2.4 สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ หลักการออกแบบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่าง ๆ
  • PLO 3   สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพและการพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษในวิชาชีพอื่นๆ 
    • Sub PLO 3.1  สร้างกรอบแนวคิดใหม่ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ท้าทายต่าง ๆ โดยบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง และแนวโน้มต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมิทธิภาพและการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและในวิชาชีพ
    • Sub PLO 3.2  ออกแบบงานวิจัยตามระเบียบวิธิวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีและหลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ การรับภาษาที่สอง และทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 
  • PLO 4   เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
    • Sub PLO 4.1  มีความสามารถในการนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาการเรียนรู้และสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
    • Sub PLO 4.2  มีความสามารถในการวางแผนงาน และแก้ปัญหาในการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
  • PLO 5   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ซับซ้อน เลือกใช้สถิติได้เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ภาษาอังกฤษในการถ่ายทอดแนวคิดและงานวิจัยในระดับสากล
  • PLO 6   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้   ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 

ค่าธรรมเนียม

(แบบที่ 2.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 450,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 75,000 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต 
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์         48   หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ         ไม่นับหน่วยกิต 
       
แบบ 2.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต 
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์         48   หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ         12   หน่วยกิต 
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ  พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ส.ค. 65