หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตรชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ปริญญาเอก สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Anti-Aging and Regenerative Medicine

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Anti-Aging and Regenerative Medicine)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Anti-Aging and Regenerative Medicine)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ความรู้ทางคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยทางด้านคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Clinical Anti-Aging and Regenerative Medicine Research) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science) หรือวิจัยเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Anti-Aging and Regenerative Medical Science Research) ส่งผลและก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการทางด้านการแพทย์ที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

  1. สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ วิเคราะห์ตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัยที่มีมาตรฐาน ให้เกิดเป็นนวัตกรรม องค์ความรู้ ที่นำไปใช้ปฎิบัติ ประยุกต์ใช้ หรือ ศึกษาต่อยอดได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
  2. มีความรู้ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางพื้นฐานวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆแบบบูรณาการ ที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์
  3. มีทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคอันเนื่องความชรา
  4. มีความรับผิดชอบ มีวินัย ซื่อสัตย์ เคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพที่ข้ามพหุวัฒนธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์ และมีภาวะผู้นำ
  5. เป็นผู้ มีทักษะการวิเคราะห์ทางชีวสถิติ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยใน การสืบค้นข้อมูลด้านวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ 
  6. มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (โดยฝึกปฎิบัติจริงในศาสตร์เวชศาสตร์ชะลอวัยที่โรงพยาบาล และศึกษาดูงานเพิ่มเติมในต่างประเทศ)

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. แพทย์และนักวิจัยทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  2. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
  3. ประกอบวิชาชีพอิสระ

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์
  • PLO2 สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีขั้นสูงวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพและทำงานวิจัย
  • PLO3 มีทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคอันเนื่องความชรา
  • PLO4 มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขา-วิชาชีพที่ข้ามพหุวัฒนธรรม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
  • PLO5 มีทักษะการวิเคราะห์ทางชีวสถิติ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูลด้านวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  • PLO6 สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพขั้นสูง

 

ค่าธรรมเนียม

  • แบบที่ 1.1 และแบบ 2.1 จำนวน  6  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 660,000 .- บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 110,000 .- บาท  
  • แบบที่ 2.2 จำนวน  10  ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร  1,100,000 .- บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 110,000 .- บาท 

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
       
แบบ 2.1  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    3. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แบบ 2.2  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต (หลักสูตร 5 ปี)
    1. หมวดวิชาพื้นฐาน 12 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    4. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ พ.ศ. 2565

ปรัปปรุงข้อมูลล่าสุด 10 ส.ค. 65