หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์

ปริญญาตรี สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Postharvest Technology and Logistics

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Postharvest Technology and Logistics)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Postharvest Technology and Logistics)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านการจัดการผลิตผลเกษตรและการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อลดการสูญเสีย ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและอาหาร อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอย่างยั่งยืนและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการบริหารจัดการผลิตผลสดเพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่า โดยบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ทักษะการบริหารจัดการ และหลักการโลจิสติกส์ เพื่อให้บัณฑิตเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ

  1. หลักสูตรรองรับแผนการศึกษาควบปริญญาตรี 2 ปริญญา ระหว่าง สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต) และสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (บริหารบัณฑิต) ในระยะเวลา 4 ปี
  2. สามารถเลือกฝึกปฏิบัติงานได้หลากหลายในสถานประกอบการ หรือสถาบันวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ
  3. มีโอกาสเข้าร่วมและโครงการแลกเปลี่ยนในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สาธารณรัฐเชค ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น 

บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร ตลอดโซ่อุปทานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นนักวิชาการ นักวิจัย หรือเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา และเป็นผู้ประกอบการ

  • PLO1 มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในข้อกำหนดทางวิชาการ เคารพกฎระเบียบของสังคม และมีสำนึกสาธารณะ
  • PLO2 มีความรู้ด้านโซ่อุปทานเกษตร รู้ข้อกำหนดและมาตรฐานสากลที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก
  • PLO3 มีความสามารถในการสร้างสรรค์และพัฒนางานเชิงบูรณาการด้านโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
  • PLO4 มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO5 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคมดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน
  • PLO6 มีความพร้อมในการปฏิบัติงานจริงในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 29 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ 46 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต