หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ

ปริญญาตรี สำนักวิชานวัตกรรมสังคม

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in International Development

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (International Development)
ชื่อย่อ : B.A. (International Development)

     หลักสูตรฯ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางทฤษฎีและการปฏิบัติด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์แก่สังคมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติตลอดจนระดับนานาชาติ

     วัตถุประสงค์
     เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ในทางทฤษฎี หลักการ และความสามารถในทางปฏิบัติการในสาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ ระดับภูมิภาค และนานาชาติ
  2. มีความสามารถในการแสวงหาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
  3. มีทักษะในการดำเนินชีวิต ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น เพื่อที่จะดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ 

  1. นักศึกษาในหลักสูตรมีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น และการศึกษาดูงานในมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศโดยได้รับการสนับสนุนทุนบางส่วนจากมหาวิทยาลัย
  2. สำนักวิชานวัตกรรมสังคมมีศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ และศูนย์วิจัยเอเชียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการที่สร้างประสบการณ์ตรงให้แก่นักศึกษาได้

บุคลากรด้านการพัฒนาในองค์กรของรัฐทุกระดับ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ในสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัย สื่อสารมวลชน พนักงานในสายงานด้าน corporate social responsibility (CSR) ในภาคเอกชน หรือองค์กรผู้ประกอบการสังคม (social enterprise) และอื่นๆ

  • PLO1: สามารถสร้างบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยอย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถวิพากษ์และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระหว่างประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างเหมาะสม
  • PLO2: สามารถทำงานพัฒนาข้ามวัฒนธรรมได้โดยประยุกต์ใช้ ความรู้ความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 280,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ 39 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาชีพเลือก 24 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต