เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปริญญาตรี สำนักวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Engineering (Computer Engineering)
ชื่อย่อ : B.Eng. (Computer Engineering)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

     หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ และทักษะความสามารถด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเน้นระบบฝังตัว และระบบควบคุมอัจฉริยะ สามารถสร้างสรรค์งานนวัตกรรม มึพร้อมสำหรับการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้อนตลาดแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม ราชการ เอกชน และการเป็นผู้ประกอบการ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและมีศักยภาพในการศึกษาขั้นสูงต่อไป
  3. เพื่อฝึกหัดและอบรมบัณฑิตให้เป็นผู้มีวินัย ความคิด และการทำงานอย่างมีระบบ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม


ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

  1. มีองค์ความรู้ และทักษะความสามารถทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในระดับสากลและมีความชำนาญเฉพาะทางในการออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้การสร้าง และการบำรุงรักษาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบคอมพิวเตอร์
  2. มีความรู้และความสามารถในด้าน คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การออกแบบระบบฝังตัว (Embedded System) ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensor) ระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) และ ระบบควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation) รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบทางด้านคอมพิวเตอร์ในภาคอุตสาหกรรม
  3. มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอมีความคิดริเริ่ม สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิศวกรรมเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี


แนวทางประกอบอาชีพ

  • วิศวกรทางด้านระบบคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
  • นักพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์และระบบสมองกลฝังตัว
  • วิศวกรควบคุมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และฮาร์ดแวร์
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  • โปรแกรมเมอร์
  • นักพัฒนาเว็บไซด์และโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือ
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 มีองค์ความรู้ และทักษะความสามารถทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในระดับสากลและมีความชำนาญเฉพาะทางในการออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้การสร้าง และการบำรุงรักษาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบคอมพิวเตอร์
  • PLO2 มีความรู้และความสามารถในด้าน คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การออกแบบระบบฝังตัว (Embedded System) ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensor) ระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) และ ระบบควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation) รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบทางด้านคอมพิวเตอร์ในภาคอุตสาหกรรม
  • PLO3 มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอมีความคิดริเริ่ม สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิศวกรรมเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี


ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 224,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 96 หน่วยกิต
  2.1 กลุ่มพื้นฐานอาชีพ 30 หน่วยกิต
  2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ 57 หน่วยกิต
  2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       


ข้อมูลอ้างอิง

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 30 มิ.ย. 64