เว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์
หากคุณกด “Accept” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้
ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร

ปริญญาตรี สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Agri-Food Logistics


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร)
ชื่อย่อ : วท.บ. (โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Agri-Food Logistics)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Agri-Food Logistics)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร มุ่งสร้างบัณฑิตตามปรัชญาการศึกษา การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีการจัดการผลิตผลเกษตร และอาหาร ร่วมกับการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าในโซ่อุปทานเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน ตลอดจนสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะการทำงานได้เหมาะสม สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังนี้

  1. มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการจัดการโลจิสติกส์ ที่กี่ยวข้องกับโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร 
  2. สามารถแก้ไขปัญหาในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร โดยคำนึงถึงผลต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  3. สามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร อาหาร และโลจิสติกส์
  4. มีทัศนคติเชิงบวก พร้อมปรับตัวและทำงานได้ตลอดโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร


จุดเด่นของหลักสูตร

  1. สามารถจัดแผนการศึกษาให้เรียนจบได้ภายใน 3.5 ปี
  2. สร้างทักษะการดำเนินธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการระหว่างเรียน
  3. โอกาสสร้างเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ
  4. พัฒนาทักษะที่ต้องการตามตลาดแรงงาน


แนวทางประกอบอาชีพ

บัณฑิตสาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร ได้แก่

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนการผลิต 
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการนำเข้าและส่งออก 
  4. เจ้าหน้าที่การจัดการคลังสินค้า
  5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
  6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการโซ่อุปทาน
  7. ผู้ประกอบการอิสระ หรือเจ้าของธุรกิจด้านเกษตรและอาหาร
  8. ข้าราชการ หรือพนักงานราชการ
  9. นักวิชาการ หรือนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมเกษตร และโลจิสติกส์


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO 1: ประยุกต์ใช้ แนวคิด ทฤษฎีทางด้านวิทยาศาตร์ การจัดการโลจิสติกส์ ในการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
  • PLO 2: เลือกใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการ เพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
  • PLO 3: เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข้อมูล นำเสนอและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • PLO 4: ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานผลิตผลเกษตรและอาหาร 
  • PLO 5: แสดงออกถึงแนวคิดเชิงบูรณาการวิทยาศาสตร์ และการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน
  • PLO 6: แสดงออกถึงทักษะเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานเป็นทีม ในสังคมพหุวัฒนธรรม


ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 94 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 28 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ 48 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       


ข้อมูลอ้างอิง

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 6 ก.พ. 67